หน้าเว็บ

Angkor Wat

นครวัด : นครแห่งศาสนสถานและความเร้นลับ


angkor00_pathumthani2go
บรรดาซากศาสนสถานอันเก่าแก่น่าเกรงขามของนครวัดหรือเมืองพระนคร ราชธานีแห่งจักรวรรดิขอมซึ่งแฝ้งเร้นอยู่กลางป่าดงประเทศกัมพูชามานานนับ ศตวรรษ นับเป็นมรดกทางวัฒธรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

บาทหลวงชาร์ล เอมิล บุยเยอโว มิชชันนารีฝรั่งเศส ได้พบซากโบราณสถานเรียงรายเป็นขนัด ขณะกำลังบุกป่าชัฏเมืองเขมรเมื่อปีค.ศ.1850 ในบรรดาซากโบราณสถานเหล่านั้นมีสิ่งก่อสร้างยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งคือ นครวัด (Angkor Wat - คำว่าอังกอร์ในภาษาเขมรแปลว่า นคร) บุยเยอโวบันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้าได้พบซากโบราณสถานมหึมา เห็นเขาบอกว่าเป็นพระราชวังมีภาพสลักเสลาตั้งแต่ยอดกำแพงจนจรดพื้น เป็นภาพการสู้รบบนหลังช้าง ทหารใช้กระบองและหอกสัประยุทธ์กัน พลธนูใช้ธนูที่ยิงได้คราวละสามดอก

สิบปีต่อมา นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี มูโอ ผู้เดินตามรอยสำรวจของบาทหลวงบุยเยอโว ก็ตื่นตะลึงกับสิ่งที่ปรากฏแก่สายตา เบื้องหน้าบริเวณที่ว่างในดงทึบมีวัดวามากมายกว่าร้อยวัด อายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 9-13 เป็นศาสนสถานของพราหมณ์บ้าง พุทธบ้างสลับกันไปตามแต่ยุคสมัย รูปเคารพ ภาพนูน และรูปสลักแสดงเรื่องราวในตำนานพราหมณ์ อาทิ นางอัปสรร่ายรำ กษัตริย์ทรงช้าง จักรพรรดิกรีธาทัพ พระพุทธรูปเรียงรายเป็นแถว ฯลฯ ปรากฏเป็นภาพมีชีวิตอยู่ต่อหน้า
รายงานอันน่าตื่นเต้นของมูโอ ก่อให้เกิดคำถามหลายประการ ใครเป็นผู้สร้างสถานอันตระการตาเช่นนี้และอะไรเป็นเหตุให้เจริญและเสื่อมลง หลักซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุดมีย้อนหลังไปแห่งพระศิวะ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพียงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เท่านั้น บัดนี้เรื้องราวอันคลุมเครือของอารยธรรมแห่งนี้ค่อยๆกระจ่างขึ้นบ้างแล้ว

ซากเมืองพระนครนี้มีอาณาเขตประมาณ 190 ตร.กม. ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 240 กม. เมืองนี้เจริญสุงสุดเมื่อราวปี ค.ศ.1000 นับเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคกลาง มีประชากรประมาณ 6000,000 คนอาศัยและทำงานอยู่ในเขตเมืองตามศาสนสถาน จัตุรัสลาน และถนนหนทาง และในเขตรอบนอก อีกประมาณล้านคน ประชากรเมืองพระนครเป็นชาวเขมร นับถือศาสนาพราหมณ์แบบหนึ่ง ซึ่งพ่อค้าอินเดียนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อราวศตวรรษที่ 1 นักวิชาการยังฉงนจนทุกวันนี้ว่าถึงแม้เขตนี้ จะมีผู้คนตั้งรกรากและมีวิทยาการก้าวหน้ามาตั้งแต่เมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ไม่มีหลักฐานเลยว่ามีเมืองน้อยใหญ่อยู่ในบริเวณนี้จนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 หลังจากนั้นจึงเริ่มมีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองขึ้น เมื่อพระนครเป็นเครื่องแสดงออกถึงภูมิปัญญาเขมรในการส้างสรรค์ศิลปกรรมอันตรึงใจ พร้อมรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมอันยืนยงเอกสารทางประวัติศาสตร์ของเขมรส่วนใหญ่สูญสลายไปตามกาลเวลา
เพราะใช้วัศดุไม่คงทน เช่น ใบลาน หนังสัตว์ นักโบราณคดีรวบรวมข้อมูลในอดีตได้จากศิลาจารึกซึ่งมีกว่า 1,000 หลักฐานเท่านั้นส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาเขมร หรือสันสกฤต หลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงนำชาติเขมรไปสู่ความรุ่งเรืองสูงสุด ทรงปลดปล่อยชาวเขมรจากการปกครองของชวาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 พระองค์ทรงนับถือพระศิวะ มหาเทพองค์หนึ่งของฮินดู และทรงสถาปนาลัทธิเทวราชเสริมพระราชอำนาจอานุภาพรังสฤษฏ์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 และกษัตริย์องค์ต่อๆมา
ทรงสร้างเทวสถานเป็นที่บูชาศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่อสิ้นพระชนม์ เทวสถานเหล่านี้ยังใช้เป็นที่ไว้พระศพอีกด้วย เมืองพระนครกลายเป็นมหานครใหญ่ราวเกาะแมนฮัตตัน(ของสหรัฐอเมริกา)ในปัจจุบัน มีสิ่งก่อสร้างงามสง่าที่สุดคือ นครวัด (Angkor Wat) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างนครวัดเป็นเทวสถานถวายพระวิษณุและเป็นที่ไว้พระศพของกษัตริย์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 นครวัดมีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ตร.กม. และอาจเป็นเทวสถานใหญ่ที่สุดในโลก
เท่าที่เคยสร้างมา เทวสถานแห่งนี้ชักระเบียงสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปรางค์ประธานออกมาเป็นชั้นๆ ส่งให้ปรางค์ประธานซึ่งสูง 60 เมตรลอยเด่นอยู่เหนือราวป่า ในช่วงเหมายัน(ช่วงกลางฤดูหนาว)แสงอาทิตย์จะสาดส่องระหว่างนครวัดกับปราสาทกุกบังโกรที่อยู่ใกล้เคียงเป็นแนวเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทเหล่านี้อาจมีหน้าที่ทางดาราศาสตร์ด้วย เมืองพระนครเจริญรุ่งเรือง มีดินอุดมซึ่งทำนาได้ถึงปีละสามครั้ง ในทะเลสาบมีปลาชุกชุม ในป่ามีต้นสักและพรรณไม้อื่นๆ
พื้นและระเบียงเทวสถานได้ไม้จากป่ามาสร้าง ข้าวปลาอาหารและป่าไม้อุดมสมบรูณ์เช่นนี้ทำให้อธิบายได้ยากยิ่งว่าอาณาจักร แห่งนี้เสื่อมโทรมไปได้อย่างไร และเหตุใดนครที่รุ่งเรืองปานนี้จึงเสื่อมสูญเหลือแต่ซาก

มีทฤษฎีอิงความเชื่อทางศาสนาว่าด้วยเรื่องการล่มสลายของพระนครอยู่สองทฤษฎี ตามทฤษฎีแรกเมื่อพวกจามที่อยู่ประชิดพรมแดนปิดเมืองพระนครได้สำเร็จในค.ศ. 1171 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ทรงเสื่อมศรัทธาเทวดาพราหมณ์ทรงหันไปนับถือ พระพุทธศาสนานิกายหนึ่งซึ่งไม่ฝักใฝ่ความรุนแรงและยึดเอาความสุขสงบเป็นที่ตั้งและทรงอุทิศปราสาทบายน ซึ่งตั้งอยู่บนลานนครธม (Angkor Thom) ถวายเป็นพุทธบูชา การเปลี่ยนศาสนานี้มีอิธิพลทำให้ชาวเขมรไม่รู้สึกต่อต้านกองทัพไทยที่บุกเมืองพระนคร
เมื่อ ค.ศ. 1431 สักเท่าไรกองทัพไทยล้อมอยู่เจ็ดเดือนก็หักเอาเมืองได้ แต่นั้นมาเมืองพระนครก็ไม่ฟื้นคืนอีกเลย

ส่วนทฤษฎีที่สองเป็นตำนานความเชื่อทางพุทธศาสนา กล่าวว่ากษัตริย์เขมรพระองค์หนึ่งทรงกริ้วบุตรของปุโรหิตเป็นอันมาก และบัญชาให้นำไปถ่วงน้ำในทะเลสาบ เทพเจ้าผู้พิโรธจึงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมจนเมืองล่มเป็นการแก้แค้นแม้ว่าเรื้องนี้ฟังดูเหลือเชื่อ แต่ก็มีข้อเท็จจริงว่าทะเลสาบแห่งนี้มักมีน้ำท่วมในฤดูมรสุม ปัจจุบัน ป่ารกรุกเข้ามาในเขตเมืองพระนคร ทำให้ศาสนสถานต่างๆพังทลายลงทุกที ตามภาพจำหลักมีตะไคร่ไรน้ำจับ ถึงแม้จะมีสารเคมีกำจัดได้ แต่หากใช้น้ำยาเหล่านี้นานเข้า ก็อาจ
เป็นอันตรายต่ออาคารในระยะยาวได้ ที่ร้ายกว่านั้นคือภัยทำลายล้างจากสงครามที่ยืดเยื้อกว่า 20 ปี ตลอดจนการลักลอบขุดภาพจำหลัก และขโมยรูปสลักไปขายยังต่างประเทศ ดูเหมือนอนาคตของโบราณสถานอันเอกอุนี้จะแขวนอยู่บนเส้นด้ายเสียแล้ว

angkor01_pathumthani2go
ประวัติศาสตร์บนแผ่นศิลา
ประวัติศาสตร์เขมรซึ่งไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานในที่อื่น ปรากฏบนภาพจำหลักนูนต่ำที่ประดับลานด้านนอกของปราสาทบายน ซึ่งเป็นศาสนสถานกลางเมืองพระนคร ในภาพพลทหารกำลังประจัญบานอยู่รอบๆนายทัพบนหลังช้าง

angkor02_pathumthani2go
ความงามที่ไม่มีวันร่วงโรย
ปรางค์ประธานแห่งนครวัดซึ่งสร้างอย่างพิถีพิถันและมีการบรูณะอย่างดี ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าราวดอกบัวตูมท่ามกลางพรรณไม้ในป่าชัฏ ศาสนสถานแห่งนี้สร้างอุทิศแด่พระวิษณุและครอบคลุมบริเวณกว้างใหญ่กว่ากรุงวาติกันในโรม ปรางค์ประธานยังมีคูน้ำกว้าง 200 เมตรคั่นจากสิ่งก่อสร้างอื่นๆ และเมืองรอบนอก ซึ่งแสดงถึงประเพณีเขมรในการสร้างปูชนียสถานให้อยู่ห่างจากโลกภายนอกอันยุ่งเหยิง สถานที่นี้ออกแบบให้เป็นที่สำหรับบำเพ็ญสมาธิและเป็นราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์เขมรในอดีต

angkor03_pathumthani2go
ความสงัดนับศตวรรษ
รูปสลักศรีษะวานรอารักขาเทวสถานแห่งนี้หันหน้าออกนอกปราสาทบันทายสำเหร่ อันเป็นเทวสถานพราหมณ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองพระนคร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมือง ที่ซุ้มเรือนแก้วบนผนังที่สลักลายวิจิตรมีรูปนางอัปสรร่ายรำ

angkor04_pathumthani2go
อัจฉริยภาพแห่งสถาปัตยกรรม
สิ่งก่อสร้างของเมืองพระนครแผ่คลุมพื้นที่ซึ่งวัดตามแนวตะวันออก ถึง ตะวันตกได้ 24 กม. และ ทิศเหนือถึง ทิศใต้ ได้ 8 กม. ผังเมืองในที่นี้แสดงตำแหน่งศาสนสถานและถนนหนทางตัดเป็นระเบียบ มีคลองส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สองแห่งคือ บารายตะวันออก และบารายตะวันตก แต่ละแห่งเก็บน้ำได้ 9,000 ล้านลิตรสำหรับไว้ใช้เพาะปลูกในหน้าแล้งซึ่งนาน 6 เดือนในผังจะเห็นคูที่มีจรเข้อาศัยอยู่รอบนครวัด ถัดไปเป็นเขตนครธมที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงสร้าง

angkor05_pathumthani2go
พนมบาแคง (ค.ศ.900)
เป็นเทวสถานแห่งแรกของเมืองพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างขึ้นบนเนินธรรมชาติแห่งหนึ่ง กษัตริย์องค์นี้ยังทรงดำริให้มีการชักน้ำจากแม่น้ำเสียมราฐเข้าบารายตะวันออก ซึ่งเป็นโครงการชลประทานแห่งแรกของเมืองพระนคร

angkor06_pathumthani2go
ปราสาทพิมานอากาศ (ค.ศ.910)
ตำนานเล่าว่ากษัตริย์เขมรัฐบรรทมด้วยนางนาคในปราสาทแห่งนี้ เพื่อให้นางนาคคุ้มครองจักรวรรดิของพระองค์ให้มั่นคง

angkor07_pathumthani2go
ปราสาทกระวัน (ค.ศ.921)
สร้างโดยคณะขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ลักษณะพิเศษคือมีภาพจำหลักนูนต่ำเป็นอิฐอยู่ภายใน ส่วนภายนอกโดยทั่วไปก่อด้วยอิฐ และหิน

angkor08_pathumthani2go
ปราสาทตาแก้ว (1,000)
เป็นศาสนสถานสำคัญแห่งแรกที่ใช้หินทรายสร้างวัดเป็นสิ่งก่อสร้างอย่างเดียวที่เหลืออยู่นี้ (ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งศาสนสถาน) เพราะสร้างด้วยวัศดุคงทน เช่น อิฐหรือหิน แต่สิ่งก่อสร้างอื่นๆรวมทั้งพระราชวัง ผุผังลงไปหมดแล้วเพราะใช้ไม้สร้าง

angkor09_pathumthani2go
ปราสาทนครวัด (ค.ศ.1113 - 1150)
เป็นเทวสถานที่งดงามและคงสภาพไว้ได้ดีที่สุด ทางเข้ามีระยะเท่ากับสองเท่าของความสูงปรางค์ประธานใช้ช่างฝีมือ 5,000 คนและแรงงาน 50,000 คนในการก่อสร้าง ระเบียงสลับซับซ้อน ที่ล้อมอาคารหลักมีภาพจำหลักลายวิจิตรอยู่เต็มตลอด และมีอยู่ระเบียงหนึ่งยาวถึง 50 เมตร สลักเรื่องการกวนเกษียรสมุทร

angkor10_pathumthani2go
ปราสาทบายน (เริ่มสร้าง ค.ศ.1200)
เป็นผลงานชิ้นเอกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีผู้บรรยายไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ว่ามีปรางค์ประธานหุ้มทองคำแวดล้อมด้วยปรางค์บริวาร 20 องค์

angkor11_pathumthani2go
สมบัติสถาปัตยศิลป์
นครวัดสร้างในสมัยเดียวกับมหาวิหารชาร์เทรอะ(Chartres Cathedral) และมหาวิหารแคนเทอร์เบอร์รี(Canterbury Cathedral) ในขณะที่สถาปนิกยุโรปเน้นเรื่องพื้นที่ภายใน ซึ่งอาศัยการสร้างหลังคาโค้งสูงขึ้นไป

angkor12_pathumthani2go
ทางปลอดภัย
เพราะเหตุการณ์ปั่นป่วนทางการเมืองและสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1980 ลานปราสาทนครธมจึงถูกปิดไม่ให้สัญจร ปัจุบันลานนี้เปิดให้ผู้คนสัญจรไปมาได้แล้วแต่ชาวบ้านที่กลับจากตลาดผ่านทางนี้ ก็ยังหวาดกลัวจะถูกเขมรแดงทำร้ายตามทางอันเป็นป่าดงอยู่


ข้อมูลจาก หนังสือ โลกพิศดาร แดนพิศวง ของ รีดเดอร์ไดเจสท์
ภาพจาก http://news.nipa.co.th, http://w2.thaiwebwizard.com,http://www.bloggang.com,http://www.gustotour.com, http://travel.holidayscenter.net,http://travel.holidayscenter.net,http://www.scholiday.co.th,
http://www.vitara4x4.com,http://iseehistory.socita.com