หน้าเว็บ

พระตำหนักจักรีบงกช

พระตำหนักจักรีบงกช ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีและ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ โดยฝั่งตรงข้ามกันยังมีพระตำหนักสวนปทุม เป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ พระตำหนักพลอยปทุม ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี


พระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี



แผนที่พระตำหนักจักรีบงกช ตำบลบางขะแยง จ.ปทุมธานี



คลิ๊กที่ (มุมซ้ายด้านบนของแผนที่) เพื่อขยายแผนที่


พระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี



มองหา หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย เพื่อที่จะซื้อ หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย เชิญแวะเยี่ยมชม หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย ราคาพิเศษสำหรับคุณ เมื่อคุณซื้อ หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย จะนำคุณเข้าสู่ระบบของ เทรดดี้เดย์ดอทคอม ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการช็อปปิ้ง หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย ออนไลน์ ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุน



หนังสือ ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย




รายละเอียดสินค้า

ชื่อเรื่อง : ๑๕ พระราชวังสำคัญในเมืองไทย

ผู้เขียน : บุญชัย ใจเย็น

จำนวน : 224 หน้า

ขนาดรูปเล่ม : 144 × 209 x 13 มม.

น้ำหนัก : 275 กรัม

เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ

ชนิดปก : ปกอ่อน

ชนิดกระดาษ : ถนอมสายตา

สำนักพิมพ์ : ปราชญ์

เนื้อหา : เรื่องน่ารู้ของพระราชวังที่สำคัญในเมืองไทย พร้อมรายละเอียดประวัติศาสตร์ความเป็นมา สาระน่ารู้และภาพรประกอบสวยงามชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ วังปารุสกวิน วังจักรพงษ์ วังสุโขทัย วังบูรพา วังสวนกุหลาบ วังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม วังสระปทุม และอื่นๆ อีกมากมาย ถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษที่อ่านเข้าใจง่าย

สารบัญ :

- พระบรมมหาราชวัง

- พระที่นั่งวิมานเมฆ

- พระราชวัง 7 วัง

- วังปารุสกวัน

- วังจักรพงษ์

- วังศุโขทัย

- วังบูรพา

- วังสวนกุหลาบ

- วังเทวะเวสม์

- วังบางขุนพรหม

- วังสระปทุม

- วังท่าพระ

- วังสนามจันทร์

- วังวรดิศ

- พระราชวังเพชรบุรี




เปิดพระตำหนัก 'จักรีบงกช'

ไฮฮอตวันเสาร์ : เปิดพระตำหนัก 'จักรีบงกช' ศูนย์แพทย์กลางน้ำจากพระทัยเจ้าฟ้า

     แม้ในปีนี้มวลน้ำก้อนใหญ่จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งบ้านเรือน ศูนย์รวมเศรษฐกิจ สถานที่มรดกสำคัญต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์จนเสียหายไปมาก แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้ได้เห็นธารน้ำใจของคนไทยมากมายที่หลั่งไหลมาช่วยกันอย่างไม่ขาดสาย แม้บางบ้านจะจมไปกับสายน้ำ แต่ก็ไม่วายต้องออกมาช่วยกัน ให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤติการณ์นี้ไปให้ได้ นี่คือบรรยากาศการเกื้อกูลกันของคนไทย ที่ไม่ว่าอยู่ในยุคไหนก็ยังเป็นเหมือนเดิมเสมอ

     ดั่งเช่นเรื่องราวจากพระกรุณาของ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรใน จ.ปทุมธานี ที่เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึงพระตำหนักจักรีบงกชใน ต.บางขะแยง ที่ประทับส่วนพระองค์อีกด้วย ระยะแรกพระองค์เสด็จพร้อมจัดหน่วยแพทย์ พอ.สว.ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วย ขาดแคลนอาหารและน้ำตามพื้นที่ต่างๆ และทรงพระกรุณาให้ใช้พื้นที่ส่วนพระองค์ภายในพระตำหนักที่น้ำยังเข้าท่วมไม่ถึง จัดตั้งเป็นหน่วยแพทย์ให้บริการประชาชนจนกว่าน้ำจะลดลงทั้งหมด

     การเดินทางเข้ามาในพระตำหนักนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชาวบ้านนัก รอบๆ นั้นเต็มไปด้วยน้ำขังตั้งแต่ปากทางเข้า จนถึงพื้นที่ภายในพระตำหนักทั้งสวนหย่อม บ้านพักรับรอง และรถยนต์ส่วนพระองค์ และของข้าราชบริพารรวมกันหลายสิบคัน ล้วนโดนน้ำยึดครองไปจนมิดหลังคา แต่ที่ตั้งเด่นตระหง่านอย่างพระตำหนักกลับถูกปกป้องไว้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อให้พระองค์ประทับ แต่เพื่อเป็นที่พักพิงทางกายและใจของประชาชนผู้ประสบภัย ที่ยินดีเดินทางมาอย่างยากลำบาก ทั้งพายเรือ ลุยน้ำ โบกเรือทหารมานับกิโล เพื่อมาหาศูนย์แพทย์ที่ดีที่สุด ใกล้ที่สุด และน่าปลื้มปีติที่สุดในละแวกบ้านตัวเอง วันนี้เราจะไปดูความเป็นอยู่ภายในพระตำหนักกลางน้ำ โดยมีผู้ดูแลส่วนงานในพระตำหนักจักรีบงกชอย่าง โสภา พาณิชย์ และ มาริษา สมบัติบูรณ์ หัวหน้าฝ่ายพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นำพาเราไปดูกิจกรรมภายในพระตำหนักอย่างใกล้ชิด

ศูนย์แพทย์แห่งนี้เปิดให้บริการบำบัดทุกข์ของประชาชนอย่างไรบ้าง

     -โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันของมูลนิธิพอ.สว.ร่วมกับมูลนิธิจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่ได้รับสั่งให้จัดหน่วยแพทย์พระราชทานในพระตำหนักจักรีบงกชทุกวันจันทร์ และออกตระเวนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดต่างๆ ทั้งในอยุธยา อ่างทอง นนทบุรี ฯลฯ ในทุกวันศุกร์ โดย ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารรี จะเสด็จลงพื้นที่มาดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนทุกครั้ง ภายในศูนย์จะแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนเพื่อการรักษาในส่วนของโรคทั่วไป ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ จิตแพทย์ มีจุดตรวจเบื้องต้น จุดรับยาให้คำปรึกษาต่างๆ เหมือนในโรงพยาบาลปกติ และมีการทำอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัยรอบๆพระตำหนักอีกด้วย ส่วนวันที่ไม่ได้เปิดศูนย์แพทย์มีรับสั่งให้จัดทำข้าวกล่องแจกจ่ายให้ประชาชนใน จ.ปทุมธานีวันละ 1,000 กล่องเสมอ

ทรงมีการเตรียมตั้งศูนย์แพทย์ไว้ล่วงหน้าก่อนน้ำจะเข้าท่วมพระตำหนักก่อนหรือไม่ 

      -ก่อนน้ำจะเข้ามาไม่ได้ทรงบอกให้ป้องกันอะไรมาก เพียงแค่ทรงบอกให้เหล่าข้าราชบริพารเตรียมการมาช่วยกันเก็บของที่จำเป็นบริเวณชั้นล่างไปให้หมด และจากนั้นน้ำก็เข้ามาอย่างรวดเร็ว มีสิ่งของรอบๆ วังที่ต้องยอมเสียไปบ้าง เพราะไม่คาดคิดว่าน้ำจะสูงถึงขนาดนี้ ที่เห็นชัดๆ เลยคือรถยนต์ที่จอดเรียงรายอยู่ข้างล่าง ตรงนี้เป็นที่สูงในระดับหนึ่งทุกคนเลยรีบย้ายรถมาไว้รอบๆพระตำหนักแต่ก็หนีไม่พ้น จมมิดหลังคาไปหลายคันมาก จากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาดูพื้นที่และทอดพระเนตรชาวบ้านเดือดร้อนมาก ทรงรีบจัดหน่วยแพทย์ไปในที่ต่างๆ ทันที แต่หลายที่ไม่มีพื้นแห้งไว้ใช้สำหรับการรักษา จึงรับสั่งให้ใช้ที่นี้เป็นศูนย์ใหญ่ แม้ชาวบ้านจะมาลำบากหน่อย แต่ก็ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่มากกว่า

ชาวบ้านเดินทางมาอย่างไร

     -ส่วนมากชาวบ้านจะมีปัญหาเรื่องการเดินทาง เราเลยประสานงานกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามอำเภอต่างๆ ในจ.ปทุมธานี ให้พาชาวบ้านที่ป่วยมารักษาในทุกวันจันทร์ รวมกลุ่มพายเรือกันมาเองบ้าง เราไปรับมาบ้าง หรือถ้าเป็นคนใน ต.บางขะแยง และใกล้ๆ กันก็จะลุยน้ำมาเองเลย ระดับน้ำตอนนี้ก็ประมาณเอวได้ แต่ก็ต้องลุยกันมาหาหมอ เพราะเดือดร้อนกันจริงๆ ส่วนมากไม่มีใครรู้เลยว่าพระองค์จะเสด็จมาดูด้วยทุกอาทิตย์ ชาวบ้านจะรู้แค่ว่าตรงนี้มีหมอเท่านั้น ตอนนี้เราเปิดมาได้ 2 อาทิตย์ รวมๆ แล้วก็มีคนไข้กว่า 200 คนต่ออาทิตย์ ส่วนมากจะเป็นโรคที่เกิดจากความเครียด เช่น ปวดหัว ความดัน ปวดเมื่อยจากการลุยน้ำมาหลายวัน และน้ำกัดเท้า รองมาก็เป็นส่วนของคนที่มีโรคประจำตัวมาขอยาเพิ่ม มาทำฟัน พาสัตว์เลี้ยงมาฉีดยากันเห็บหมัด และรอรับกล่องยาสามัญประจำบ้าน ถ้ามีอาการหนักจริงๆ อย่างเป็นไข้เลือดออก มะเร็ง เบาหวาน หรือคนชราที่บาดเจ็บไม่มีคนดูแลเราก็จะนำตัวส่งไปในโรงพยาบาลที่พร้อมรักษาในอาการนั้นๆ ทันที 

อุปสรรคของการรักษาในพื้นที่น้ำท่วม

     -สำคัญคือเรื่องของไฟฟ้า เนื่องจากละแวกนี้โดดตัดไปหมดแล้ว เราจึงได้ไฟที่ทางจังหวัดให้มาใช้ในจำนวนจำกัดมาก ต้องใช้เครื่องปั่นไฟมาเสริมอีกที แต่ก็ต้องรีบตรวจรีบรักษาให้ดีที่สุด เพราะนอกจากคนไข้เยอะแล้ว เวลาก็เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับแพทย์ พยาบาลในที่นี้มาก อย่างวันนี้อยู่ดีๆ ก็ไฟดับไปประมาณครึ่งชั่วโมงก็รักษากันต่อค่อนข้างยาก เครื่องมือแพทย์บางชิ้นต้องใช้ไฟฟ้า พื้นที่ในพระตำหนักก็ไม่ใหญ่มาก ไม่มีแอร์ ต้องใช้พัดลมเป่า พอไฟดับอากาศก็ถ่ายเทไม่สะดวก จะให้ชาวบ้านมานั่งรอในห้องตรวจเยอะๆ ไม่ได้  

     แต่ใช่ว่าในความลำบากของการรักษาจะมีแต่เรื่องเลวร้าย เพราะภายในศูนย์แพทย์แห่งนี้กลับมีแต่รอยยิ้มพิมพ์ใจของชาวบ้านและคณะแพทย์ต่างๆ ที่พร้อมมาปลอบโยนจิตใจกันอย่างเต็มที่ บวกกับการเสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยพระองค์เอง ยิ่งสร้างความตื้นตันและเพิ่มกำลังใจให้แก่ชาวบ้านได้เต็มร้อย โดยพระองค์ทรงสอบถามอาการของชาวบ้านอย่างใกล้ชิดในเวลาร่วม 2 ชั่วโมง พร้อมมีพระดำรัสให้กำลังใจแก่ชาวปทุมธานีไว้ว่า

     "มาครั้งนี้อยากให้กำลังใจชาวปทุมธานีอีกครั้ง ตัวข้าพเจ้าเองเป็นชาวปทุมเหมือนกัน อยู่ที่นี่มาตลอด...ข้าพเจ้าก็ขอย้ำว่า ข้าพเจ้าจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวปทุมธานีทุกคน แต่ว่าก็ขอให้ทุกคนมีความอดทนอดกลั้น แล้วก็ให้มีน้ำใจเอื้ออารีต่อเพื่อนบ้านด้วยกัน เพราะว่าจริงๆ พวกเราทุกคนก็ทุกข์หมด แต่ว่ามีบางคนอาจจะทุกข์น้อยกว่าบางคน ก็ขอให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามแบบน้ำใจคนไทย..."

--------------------------

(ไฮฮอตวันเสาร์ : เปิดพระตำหนัก'จักรีบงกช'ศูนย์แพทย์กลางน้ำจากพระทัยเจ้าฟ้า)

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/detail/20111112/114695/เปิดพระตำหนักจักรีบงกช.html


พระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี