หน้าเว็บ

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (Pathum thani Rice Research Center)






ประวัติและความเป็นมา
        เป็นสถานีทดลองข้าวแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2459 ชื่อ นาทดลองคลองรังสิต สังกัดกรมเพาะปลูก โดยมี พระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูต) เป็นหัวหน้าคนแรก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีทดลองข้าวรังสิต สังกัดกรมการข้าวในปี พ.ศ.2496 และสังกัดกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ.2515 ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ตามโครงการวิจัยแห่งชาติ สถานีทดลองข้าวรังสิต ได้รับการยกฐานะเป็น ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ.2526 ปัจจุบันศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สังกัดกรมการข้าว ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2549
 
        ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี หรือสถานีทดลองข้าวรังสิต (เดิม) สร้างขึ้นโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระปิยมหาราชในปี พ.ศ.2458 บริษัทขุดคลองและคูนาสยามในทุ่งหลวง เสร็จสิ้นลง ได้ตั้งสถานีทดลองรังสิต (นาทดลองคลองรังสิต) สังกัดกรมเพาะปลูก ขึ้นในปี พ.ศ.2459 เป็นสถานีทดลองข้าวแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีพระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูตร) นักเรียนทุนหลวงคนแรกที่ไปศึกษาวิชาการแผนที่และวิชาเกษตร ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าสถานีคนแรก ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้านาสวนที่นาทดลองคลองรังสิต เป็นเวลานานถึง 12 ปี จนประสบผลสำเร็จได้ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว
 

  ปี พ.ศ.2463 ได้ทำการปรับปรุงการทำนา โดยนำเครื่องมือและเครื่องจักรจากต่างประเทศมาใช้
     
  ปี พ.ศ.2475 นายตริ มิลินทสูตร ได้รับ ม.ล.ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ซึ่งจบการศึกษาเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษมาร่วมงานด้วย จึงได้ขยายเนื้อที่นาเพิ่มขึ้นอีก 1,700 ไร่ โดยเช่าจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดปทุมธานีเพื่อการขยายพันธุ์ข้าว
     
  ในปลายปี พ.ศ.2476 (สมัยรัชกาลที่ 7) ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว ของนาทดลองคลองรังสิต ได้รับรางวัลดีเยี่ยมเป็นที่ 1 ของโลก ในงานประกวดข้าวโลก ที่เมืองเรไยนา (Regina) ประเทศคานาดา และได้รับรางวัลที่ 2 และ 3 และรางวัลอื่นๆ อีก 8 รางวัล รวมเป็น 11 รางวัล จากรางวัลรวมทั้งสิ้น 20 รางวัล ทำให้ข้าวปิ่นแก้วของไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในตลาดโลก
     
  ในปี พ.ศ.2477  (สมัยรัชกาลที่ 8)  ม.ล.ยิ่งศักดิ์  อิศรเสนา  ได้เป็นหัวหน้าสถานี มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรโดยได้รับมอบหมายให้เปิดการสอนผู้ที่มีความรู้  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 เข้าเรียนเรื่องข้าว หลักสูตร 15 เดือนเป็นภาควิชาการ 3 เดือนและการฝึกภาคสนามอีก 1 ปี  เพื่อขยายการเผยแพร่พันธุ์ข้าวไปในอำเภอต่างๆ  ที่มีการทำนาเป็นหลัก รวม 27 อำเภอ  ในภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  จึงเป็นการเริ่มต้นของการส่งเสริมการใช้ข้าวพันธุ์ดีของประเทศ
     
  ในปี พ.ศ.2480 นาทดลองคลองรังสิต ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยอย่างหนัก น้ำท่วมแปลงนาขยายพันธุ์ทั้งหมดสถานีจึงได้กู้ต้นข้าวเมล็ดพันธุ์ข้าวจากรวง (panicle seeds) ของข้าวพันธุ์ดีทั้งหมดโดยการย้ายปลูกในกระถาง ทำให้การทำนาในปี พ.ศ.2486 ต้องใช้เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seeds) เมล็ดพันธุ์หลัก (foundation seeds) และเมล็ดพันธุ์ขยาย (stock seeds) ที่เหลือเก็บข้ามปีไว้
 
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เป็นสถานีทดลองข้าวรังสิต สังกัดกรมการข้าวในปี พ.ศ.2496 และสังกัดกรมวิชาการเกษตรในปีพ.ศ.2515 ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ตามโครงการวิจัยแห่งชาติ สถานีทดลองข้าวรังสิต ได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมื่อปีพ.ศ. 2526 ปัจจุบันศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อยู่ในสังกัดกรมการข้าว ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ในปี2549
 

สถานที่ตั้ง ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

        ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 คลอง 6 ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 1,007 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา สภาพทั่วไปเป็นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.4-2.1 เมตร ตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 14 องศา 01 ลิปดาเหนือและเส้นแวงที่ 100 องศา 41 ลิปดาตะวันออก ลักษณะดินเป็นดินเปรี้ยว ชุดดินองครักษ์ กรดจัด (ความเป็นกรดด่าง 3.9-4.2) จำนวนวันฝนตกเฉลี่ย 90 วันต่อปี ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,330 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดปี 32.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดปี 22.2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 74.8 เปอร์เซ็นต์
 
            
 
           
 
          
 
          
 
          
 
 
 

 
แผนที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี


แผนที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี


ขอขอบคุณ ข้อมูล และ ภาพ จาก ptt-rrc.ricethailand.go.th(ข้อมูล และ ภาพ เป็น ลิขสิทธิ์ของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี)


มองหา หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว เพื่อที่จะซื้อ หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว เชิญแวะเยี่ยมชม หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว ราคาพิเศษสำหรับคุณ เมื่อคุณซื้อ หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว จะนำคุณเข้าสู่ระบบของ เทรดดี้เดย์ดอทคอม ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการช็อปปิ้ง หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว ออนไลน์ ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุน



** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **

-------------------------

-------------------------

-------------------------




** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **

-------------------------

-------------------------

-------------------------




** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **
** อ่านรายละเอียด **