หน้าเว็บ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อเต็นท์

ก่อนที่เราจะซื้อเต็นท์สักหลัง เราควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ หลายๆ ด้าน แรกสุด เราควรจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เสียก่อนที่จะพิจารณาเลือกซื้อเต็นท์ สักหลัง
• เราเที่ยวบ่อยแค่ไหน? ถ้าในปีหนึ่งๆ เราเที่ยวแค่ไม่กี่ครั้ง ก็อาจจะยืมเต็นท์เพื่อนๆ เอาจะคุ้มกว่า เพราะถ้าเสียเงินซื้อไปแล้วไม่ค่อยได้ใช้ อุปกรณ์บางอย่างจะเสื่อมตามกาลเวลา เช่น สารเคลือบเต็นท์บริเวณผนังเต็นท์อาจจะหลุดลอกเมื่อเวลาผ่านไป เป็นต้น
• งบประมาณมีเท่าไร? งบประมาณจะส่งผลต่อเต็นท์ที่เราจะเลือกซื้อ ถ้างบประมาณเราน้อยก็อาจจะได้เต็นท์ที่มีคุณสมบัติไม่มากเท่าไร ถ้าคุณต้องการเต็นท์ที่ดี แน่นอนก็ต้องจ่ายแพงกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับงบประมาณของคุณเป็นหลัก เพราะใครๆ ก็อยากได้เต็นท์ที่ดีอยู่แล้ว
• เต็นท์ที่เราซื้อจะไปใช้กับการเดินทางท่องเที่ยวแบบไหน? เช่น การขับรถเที่ยว (คาร์แค้มป์) หรือการเดินป่า เป็นต้น ถ้าหากคุณชอบขับรถเที่ยว น้ำหนักของเต็นท์อาจจะไม่สำคัญเท่าไรในการพิจารณาเลือกซื้อ แต่หากคุณต้องเดินป่าระยะไกลก็อาจจะต้องพิจารณาถึงเรื่องน้ำหนักและ คุณสมบัติเฉพาะบางอย่างเป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นกับสไตล์การท่องเที่ยวของคุณ
• ภูมิอากาศของสถานที่ที่เราไปแค้มปิ้ง หากคุณชอบไปป่าหน้าฝน พวกอุปกรณ์กันฝนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ เพราะเต็นท์บางรุ่นจะมีอุปกรณ์กันฝนมาให้ (เช่น ฟลายชีท) บางรุ่นก็ไม่มี
• ขนาดของเต็นท์ที่คุณต้องการ คุณต้องการเต็นท์ที่นอนได้กี่คน ไม่ใช่ว่าเต็นท์ขนาดใหญ่จะดีกว่าเต็นท์ขนาดเล็ก เพราะขนาดจะแปรผันตรงกับน้ำหนัก หากไปป่าที่ต้องเดินก็ควรพิจารณาซื้อเต็นท์เล็กนอนได้ 1-2 คน ถ้าเที่ยวกับรถก็ซื้อใหญ่กว่าก็ได้ไม่มีปัญหา
หลังจากที่คุณสามารถตอบคำถามในใจคุณได้แล้ว ลองดูในใบตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อ คุณก็จะสามารถเลือกเต็นท์ได้แล้วว่ามีรุ่นไหนที่ตรงกับที่คุณต้องการบ้าง คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราต้องไปซื้อเต็นท์กันแล้ว เราจะมีวิธีเลือกและตรวจสอบตัวเต็นท์ที่จะซื้ออย่างไรบ้าง
1. เมื่อเราได้คำตอบแล้วว่าเราต้องการเต็นท์แบบไหน ก็ลองหารายละเอียดตัวอย่างสินค้าของแต่ละยี่ห้อมาดูก่อน ศึกษาก่อนว่าแต่ละยี่ห้อมีรุ่นไหนที่ตรงกับความต้องการของคุณบ้าง ซึ่งคุณควรพิจารณายี่ห้อของเต็นท์ที่คุณจะซื้อด้วยว่ามีบริการเป็นอย่างไร ถ้าสินค้ามีปัญหาจะนำมาเปลี่ยนหรือซ่อมได้หรือไม่
2. พาเพื่อนๆ ที่ชอบเที่ยวกับคุณมาช่วยเลือกเต็นท์กับคุณด้วย เพราะเขาเหล่านั้นอาจจะได้มานอนในเต็นท์ที่คุณซื้อ ให้เขาช่วยตัดสินใจกับคุณ ยังไงซะหลายตาดีกว่าตาเดียว บางครั้ง เพื่อนบางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในการใช้เต็นท์บางประเภท ซึ่งจะสามารถให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้อีกด้วย
3. ลองกางเต็นท์ดู แกะออกจากถุงแล้วลองกางดูว่ากางยากหรือเปล่า เต็นท์บางรุ่นกว่าจะกางได้เสร็จเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน ถ้าสงสัยอะไรก็ให้ถามพนักงาน แล้วลองดูสเป็คข้างถุงเต็นท์ว่าตรงกับตัวเต็นท์หรือเปล่า
4. มุดเข้าไปในตัวเต็นท์ลองนั่งดูว่าพื้นที่ใช้สอยมากพอตามความต้อง การหรือไม่ หน้าต่างระบายอากาศมีมากพอหรือไม่ แล้วลองนั่งจินตนการดูว่าพวกกระเป๋า รองเท้า อุปกรณ์ต่างๆ ของเราจะวางไว้ตรงไหนของเต็นท์ แล้วจะมีที่เหลือพอสำหรับนอนหรือเปล่า
5. ตรวจสอบตะเข็บเต็นท์ตามมุมต่างๆ ว่าเย็บดีหรือไม่ ลองรูดซิปตามประตูหน้าต่างดูว่ามีปัญหาหรือไม่
6. ตรวจสอบการเคลือบผิวของสารกันน้ำตามตัวเต็นท์ หรือฟลายชีทที่มากับเต็นท์ ตามปรกติพวกฟลายชีทและผนังเต็นท์มักจะเคลือบสารเพื่อกันน้ำซึมไหลเข้าเต็นท์ เอาไว้
7. หลังจากตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อย ก็ลองเก็บเต็นท์ดูว่าเก็บยากหรือไม่
ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าเต็นท์นี้แหละที่ใช่แบบที่คุณต้องการ คราวนี้ก็ต้องมาเลือกสีกันแล้ว เต็นท์แต่ละรุ่นจะมีสีให้เลือกไม่มากนัก ไม่เหมือนเสื้อผ้าที่มีสีหลากหลาย ข้อควรพิจารณาคือ สีอ่อนจะช่วยให้แสงส่องผ่านเต็นท์ได้ดีกว่าสีเข้ม ส่วนสีเข้มจะดูดความร้อนได้ดีกว่าสีอ่อน หากใช้ในที่อากาศหนาวก็จะทำให้อุ่นขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ซื้อด้วยว่าชอบสีสไตล์ไหน

มารู้จักชนิดและประเภทของเต๊นท์

เต็นท์แบบสามเหลี่ยม (Pup Tent)
คือเต็นที่ใช้เสาเต็นท์และสมอบกในการกาง โดยจะมีเสาเต็นท์ 2 ข้างบริเวณประตูเป็นตัวยึดโครงเต็นท์ เต็นท์ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้สมอบกและเชื่อกขึงตามมุมเพื่อทำการยึด เต็นท์ เมื่อกางเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมทรงปริซึ่ม (รูปเต็นท์สามเหลี่ยม) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้คือกางยากและพื้นที่ใช้สอยไม่มาก เพราะจะเสียพื้นที่บริเวณมุมเต็นท์เพราะผนังจะมีลักษณะลาดเอียง และมักจะมีน้ำเกาะบริเวณผนังเต็นท์ แต่ในบางรุ่นในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีฟลายชีสอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝน


เต็นท์โครง (A Frame)
เต็นท์โครงจะมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์แบบสามเหลี่ยม แต่จะมีลักษณะของโครงสร้างต่างไป โดยแทนที่จะที่จะมีเสาทั้งสองด้านของตัวเต็นท์เพื่อยึดตัวเต็นท์ จะใช้โครงเหล็กลักษณะคล้ายกับตัว A ยึดกับแกนที่มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับตัวเต็นท์ด้านบน พื้นที่ใช้สอยจะมีมากกว่าแบบสามเหลี่ยม เต็นท์ลักษณะนี้จะต้องปักสมอบกเพื่อยึดตัวเต๊นท์ให้เกิดความแข็งแรง (คล้ายกับเต๊นท์แบบสามเหลี่ยม) ในบ้านเราก็มีจำหน่ายเต็นท์ลักษณะนี้แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

เต็นท์โดม (Dome)
เต็นท์โดม คือเต็นท์ที่ใช้โครงเสาไฟเบอร์ในการกาง แต่จะใช้สมอบกเพื่อยึดเต็นท์ให้อยู่กับที่เท่านั้น (รูปเต็นท์โดม) (ตารางเปรียบเทียบเต็นท์) จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าเต็นท์โดมมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเหนือ กว่าเต็นท์สามเหลี่ยมมากโดยเฉพาะคุณสมบัติที่เคลื่อนย้ายง่ายและกางได้ทุก พื้นที่ เพราะในบางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องกางเต็นท์บนพื้นดินที่แข็งมาก ,บนลานหิน ,บนลานปูน หรือบนพื้นที่ที่ไม่อาจจะตอกสมอบกได้ และในบางครั้งเราก็ต้องมีการย้ายพื้นที่กางเต็นท์ในขณะที่กางเต็นท์ไปแล้ว เช่นกางอยู่บนรังมด หรือมีเศษไม้ เศษหินอยู่ใต้เต็นท์ เราก็สามารถที่จะยกเต็นท์โดมออกแล้งย้ายกรือหยิบเศษไม้เศษหินเหล่านั้นออกไป ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากางเต็นท์ใหม่เหมือนเต็นท์ สามเหลี่ยม และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนี้จึงขอแนะนำให้ใช้เต็นท์โดมมากกว่า เต็นท์สามเหลี่ยม

เต็นท์แบบกระโจม (Teepee)
เต็นท์กระโจมจะมีลักษณะคล้ายกับกระโจมของอินเดียแดง โดยจะมีเสาเพียงต้นเดียว ลักษณะของเต็นท์ชนิดนี้จะเหมือนกับมีฟลายชีสมาคลุมพื้นไว้เป็นรูปกระโจมเท่า นั้น โดยจะมีเสาอยู่ตรงกลาง ทางเข้าของเต็นท์ชนิดนี้จะเอียงตากความชันของกระโจม พื้นด้านล่างเมื่อกางเสร็จจะไม่เป็นสี่เหลี่ยมเพราะจะเสียพื้นที่ตรงความชัน ของกระโจม เราจะไม่ค่อยพบเต็นท์แบบนี้มากนักในบ้านเรา (ตั้งแต่เที่ยวมายังไม่เคยเห็นใครใช้แบบนี้เลย) ข้อดีของเต็นกระโจมจะมีน้ำหนักเบาและติดตั้งง่ายเพราะมีเสาเพียงแค่ต้นเดียว (แต่บางแบบก็มีการพัฒนาให้มีเสาสองต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านใน) ข้อเสียของเต็นท์ชนิดนี้ไม่สามารถใช้กับอากาศทุกประเภทเช่น อากาศที่ฝนตก เพราะน้ำอาจเข้าได้
เต็นท์แบบอุโมงค์ (Tunnel or Hoop)
เต็นท์ แบบอุโมงค์จะใช้เสาประมาณ 2-3 เสา โดยเสาจะสามารถงอให้เป็นรูปโค้งคล้ายกับห่วงครึ่งวงกลม ทำให้มีลักษณะคล้ายกับอุโมงค์ถ้านำมาเรียงต่อกัน โดยเสาที่โค้งเป็นครึ่งวงกลมนี้จะทำหน้าที่ยึดตัวเต็นท์ไว้ พื้นที่ใช้สอยของเต็นท์ลักษณะนี้จะค่อนข้างมาก เพราะเป็นทรงสูงจะไม่เสียพื้นที่กับการลาดเอียงของผนังเต็นท์ ขนาดของเต็นท์ชนิดนี้จะไม่ใหญ่มาก (ส่วนใหญ่จะนอนไม่เกิน 4 คน) เพราะถ้ามีขนาดใหญ่จะทำให้รูปทรงไม่สามารถต้านลมได้ ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือกางง่าย น้ำหนักเบา พื้นที่ใช้สอยมาก ส่วนข้อเสียคือกันลมได้ไม่ดี เพราะมีความลาดชันของผนังเต็นท์น้อยทำให้ต้านลม เต็นท์ชนิดนี้บางครั้งก็มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ เต็นท์ เช่น ฟลายชีสกันฝน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ผลิตเต็นท์ว่าจะทำอุปกรณ์เสริมชนิดใดออกมา
เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน (Bivy Sacks)
เต็นท์ ลักษณะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับถุงนอนแต่จะมีส่วนที่ใช้ครอบศีรษะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเต็นท์เล็ก ๆ บนศีรษะ เต็นท์ลักษณะนี้จะมีพื้นที่ใช้สอยน้อย แค่นอนไปก็ที่เต็มแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตก เพราะกันฝนได้ไม่ดี เหมาะสำหรับอากาศแบบทั่ว ๆ ไป หากเกรงว่าฝนจะตกก็อาจจะใช้ฟลายชีสกันฝนอีกชั้นหนึ่ง เราจะม่ค่อยเต็นท์ลักษณะนี้กันมากนัก ข้อดีของเต็นท์ชนิดนี้คือน้ำหนักเบา เหมาะที่สุดสำหรับการนอนดูดาว
เต็นท์สปริง (Spring)
เป็นเต็นท์ที่ใช้ขดลวดสปริงเป็นโครงอยู่ภายในดังนั้นมันจึง เป็นเต็นท์ที่กางง่ายที่สุดในบรรดาเต็นท์ทั้ง 3 ชนิด คือแค่โยนขึ้นไปในอากาศโครงสปริงก็จะดันตัวเต็นท์ให้ดีดดึ๋งกางเสร็จสรรพใน พริบตาแต่ไม่แนะนำให้ซื้อเต็นท์ประเภทนี่มาใช้เพราะมีโครงสร้างที่ไม่แข็ง แรงแค่ลมพัดมาก็จะปลิวแล้ว และเต็นท์ที่ผลิตก็จะมีขนาดเพียง 2-3 คนนอนเท่านั้น แถมเวลาเก็บยังมีขนาดใหญ่และเกะกะกว่าเต็นท์แบบอื่นๆอีกด้วย

ส่วนประกอบของเต็นท์

1. พื้นเต็นท์
เป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน สามารถกันน้ำและมีความทนทานสูง
2. ตัวเต็นท์
เป็นส่วนที่อยู่เหนือพื้นเต็นท์ขึ้นมา ทำหน้าที่กันลม ฝน
3. เสาหรือโครงเต็นท์
เป็นส่วนที่ช่วยทำให้เต็นท์ทรงตัวอยู่ได้ เสาเต็นท์ที่นิยมใช้กัน จะมีเป็นแบบอลูมิเนียม และไฟเบอร์กลาส ซึ่งถ้าเป็นเต็นท์สามเหลี่ยม เสาที่ใช้มักจะเป็นอลูมิเนียม ส่วนเต็นท์โดม เต็นท์อุโมงค์จะใช้เป็นไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้
4. ฟลายชีท
จะเป็นผ้าที่ใช้กันลมและฝน คุณสมบัติทั่วไปของฟลายชีทคือ สามารถกันน้ำได้เนื่องจากมีการเคลือบสารกันน้ำเอาไว้ ทำให้เวลาฝนตกน้ำจะไม่ไหลเข้าสู่ตัวเต็นท์

5. สมอบกและเชือก
ใช้สำหรับยึดเต็นท์กับพื้นดิน เพื่อไม่ให้ปลิวไปกับลม สมอบกจะมีทั้งแบบอลูมิเนียม พลาสติก ซึ่งแต่ละแบบจะมีความแข็งแรงและน้ำหนักไม่เท่ากัน
6. ประตูและหน้าต่าง
ใช้สำหรับเป็นทางเข้าออกและเป็นช่องทางระบายอากาศ เต็นท์โดยส่วนใหญ่จะมีประตูด้านเดียว แต่ในบางรุ่นก็มีประตูเข้าออกได้ทั้งสองด้าน ส่วนหน้าต่างจะขึ้นอยู่กับชนิดและรุ่นของเต็นท์ เต็นท์บางชนิดที่ใช้กับอากาศหนาวมากๆ อาจจะไม่มีหน้าต่างเลยก็ได้
7. ช่องเก็บของ
เต็นท์บางรุ่นจะมีช่องเก็บของด้านใน ซึ่งจะอยู่บริเวณติดกับผนังเต็นท์ด้านข้าง หรือด้านบนตัวเต็นท์ตรงกึ่งกลาง ซึ่งจะพอเก็บของจุกจิกได้เล็กน้อย เช่น แว่นตา ไฟฉาย ฯลฯ


ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างวิธีการกางเต็นท์แบบง่ายๆ ที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าการกางเต็นท์ไม่ใช่เรื่องยาก ตัวอย่างที่มาแสดงจะเป็นการกางเต็นท์โดม ถ้าเป็นแบบอื่นๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
1. นำเต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ ออกมาจากถุง ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ครบถ้วน

2. เริ่มด้วยการติดตั้งโครงเต็นท์ โดยเอาบริเวณปลายของโครงเสียบกับตรงมุมเต็นท์ ซึ่งจะมีช่องสำหรับเสียบโครงเต็นท์อยู่ หลังจากนั้นให้นำขอเกี่ยวบริเวณตัวเต็นท์ นำมาเกี่ยวกับตัวโครง ถึงขั้นตอนนี้เต็นท์ของคุณจะขึ้นเป็นรูปได้แล้ว สำหรับบางรุ่นอาจจะต้องมีการเอาตัวโครงมาสอดกับตัวเต็นท์ให้ทะลุไปอีกด้าน หนึ่งแล้วงอโครงโดยให้ปลายทั้งสองข้างเสียบเข้าไปในช่องที่มุมเต็นท์

3.หลังจากตั้งโครงแล้วก็จะได้เต็นท์ ที่พร้อมจะกางฟลายชีทได้

4.ติดตั้งเสาสำหรับฟลายชีท โดยนำเสามาพาดกลางเต็นท์และผูกตัวเสาฟลายชีทกับบริเวณกลางเต็นท์ที่เสาโครงเต็นท์สองด้านตัดกัน

5. ติดตั้งฟลายชีทโดยนำขอเกี่ยวของฟลายชีทเกี่ยวกับบริเวณมุมเต็นท์ทั้ง 2 ด้าน แล้วนำฟลายชีทมาพาดเสากลาง
6. ติดตั้งฟลายชีทอีกด้าน เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะได้เต็นท์ที่เสร็จสมบูรณ์

การดูแลรักษาเต็นท์

การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่า เต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว
1. ฝึกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเกิดความเสียหายได้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับเต็นท์ เป็นต้น
2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปิดซิปให้เรียบร้อย
3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลายสารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สารเคลือบหลุดออกเช่นกัน
4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์คือช่วยปกป้องตัวเต็นท์จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น
5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็นเพราะเต็นท์สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเข้าไปไว้ในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้
ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนังเต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปิดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์แค้มปิ้งทั่วไป

รวมผู้ผลิตเต็นท์จากทั้วโลก
• Armadillo [http://www.walrusgear.com/]
• Bibler Tents [http://www.biblertents.com/]
• Climb High [http://www.climbhigh.com/]
• Eastern Mountain Sports (EMS) [http://www.emsonline.com/]
• Ferrino USA [http://www.ferrino.it/]
• Integral Designs [http://www.integraldesigns.com/]
• Kelty, Incorporated [http://www.kelty.com/]
• L L Bean, Incorporated [http://www.llbean.com/]
• Lofty Shelters [http://www.loftyshelters.com/]
• Marmot [http://www.marmot.com/]
• Moss Tents [http://www.mosstents.com/]
• Mountain Equipment Co-Op [http://www.mec.ca/Main/home.jsp]
• Mountain Hardware [http://www.mountainhardware.com/]
• Peak 1 [http://www.coleman.com/]
• Recreational Equipment, Incorporated (REI) [http://www.rei.com/]
• Slumberjack [http://www.slumberjack.com/]
• VauDe Sports [http://www.vaude.com/]
• Wisconsin Pharmacal [http://www.walrusgear.com/]

ที่มา
: ข้อมูลโดย เอเวอร์เรสต์ , กรกฏาคม 2002
: http://www.mrbackpacker.com
: thank you