หน้าเว็บ

สื่อสารเพื่อการคณะสงฆ์



สื่อสารเพื่อการคณะสงฆ์ ฉบับที่ ๑๐๕ เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓

ปทานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัยฉบับบาลี – ไทย เฉลิมพระเกียรติฯ

นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม๒๕๕๓ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการปทานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัย ฉบับบาลี – ไทยเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามที่พระพรหมโมลีประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะภาค ๑ วัดพิชยญาติการาม เสนอเรื่องให้ทบทวนดำเนินโครงการโดยมีศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในความอุปถัมภ์ของพระมหาเถรสมาคมรับผิดชอบ ซึ่งลักษณะงานเป็นการศึกษาวิจัยบทบาลีพระไตรปิฎกทุกบทที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อรักษาบาลีพระไตรปิฎก อันเป็นต้นฉบับเดิมไว้เพื่อป้องกันสัทธรรมปฏิรูปในรูปของบาลี รวมถึงการใช้ศัพท์ธรรมโดยถูกต้องพร้อมทั้งอรรถ(สาตฺถํ) พร้อมทั้งพยัญชนะ(สพฺยญฺชนํ) และเพื่อเป็นคู่มือศึกษาค้นคว้าบาลีพระไตรปิฎกของนิสิตนักศึกษาและบัณฑิตชนทั่วไปสำหรับความเป็นมาของโครงการฯนั้น เป็นโครงการที่จัดทำครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ โดยพระราชปริยัติโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ ปัจจุบัน พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม) ในความอุปการะของพระธรรมวโรดม (นิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.๙ ปัจจุบัน สมเด็จพระมหาธีราจารย์) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโรป.ธ. ๙) ได้เห็นชอบและสนับสนุนและนำเรื่องเสนอมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๒และมีมติแต่งตั้งพระธรรมวโรดม (ปัจจุบัน สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม กรรมการมหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้อำนวยการกองจัดแปล แต่งตั้งให้พระราชปริยัติโมลี(ปัจจุบันพระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม) วัดชนะสงครามเป็นประธานกรรมการจัดแปลโดยงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในการจัดทำต้นฉบับ จัดพิมพ์เผยแผ่เมื่อปี ๒๕๓๒ จำนวน ๓ เล่ม

 คณะสงฆ์เชียงใหม่เร่งแก้ปัญหาวัดร้าง ขาดศาสนทายาท

พระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดเผยว่า คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่กำลังเร่งแก้ปัญหาวัดร้างและการขาดศาสนทายาท เนื่องจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ไม่สนใจประเพณีบรรพชาสามเณรซึ่งถือปฏิบัติกันมายาวนานส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดศาสนทายาท หรือจำนวนพระสงฆ์ที่จะอยู่ตามวัดมีลดลงจากการสำรวจล่าสุดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่ามีจำนวนวัดร้างที่ไม่มีพระจำพรรษามากถึง ๓๐๐ วัดจาก
๑,๒๐๐ วัด ขณะเดียวกันจำนวนสามเณรลดลงอย่างเห็นได้ชัดบางวัดไม่มีสามเณร ดังนั้นคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่จึงได้จัดทำโครงการศาสนทายาทขึ้นนำร่องที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่เป็นพื้นที่แรกในปี ๒๕๕๓ โดยให้แต่ละวัดในอำเภอดังกล่าวจัดบรรพชาสามเณรวัดละ ๒ - ๓ รูป เพื่อเป็นการสร้างศาสนทายาทให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่จะติดตามผลเป็นระยะเวลา ๑ ปี หากโครงการดังกล่าวเกิดผลว่ามีจำนวนสามเณรและพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นก็จะขยายโครงการดังกล่าวไปตามอำเภอต่างๆ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่นอกจากนี้ คณะสงฆ์เชียงใหม่จะประสานพระบัณฑิตอาสาของมจร.ในการช่วยหาชาวเขาในพื้นที่สูงให้มาบรรพชาเป็นสามเณรและบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ด้วย เพราะในปัจจุบันวัดศรีโสดาก็มีสามเณรที่มาจากชาวเขาเป็นจำนวนมากกว่า๓๐๐ รูปสิ่งที่อาตมาห่วงมากที่สุดตอนนี้ คือ พุทธศาสนิกชนไม่สนใจประเพณีการบวชเณรเหมือนในอดีต ทำให้อาตมาต้องเร่งฟื้นประเพณีดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเร่งสร้างศาสนทายาทหากแต่ละปีเราสามารถสร้างศาสนทายาทขึ้นมาได้ทุกปีก็จะมีพระเณรมาทดแทนพระที่สึกไป และอาตมาหวังว่าจะต้องมีสามเณรที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่เมืองไทย อย่างไรก็ตามอาตมาได้สั่งการให้วัดในอำเภอพร้าวเร่งดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้ว โดยเด็กที่เข้ามาบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี" เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่กล่าว

 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติของคณะสงฆ์

 มส.มีมติกำหนดวันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ กำหนดวันเวลาเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระราชกุศลและถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ จำนวน ๕ ครั้ง คือ
๑. วันเสาร์ ที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๐ น.ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖
๒. วันจันทร์ ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘
๓. วันพฤหัสบดี ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา๑๖.๐๐ น. ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๙
๔. วันจันทร์ ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐
๕. วันเสาร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๐ น.ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒
และให้ดำเนินการเพื่อประกอบพิธีตามวันและเวลาดังกล่าวดังนี้
๑. ให้พระสังฆาธิการทุกระดับทุกรูป ในกรุงเทพมหานคร ไปเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อ
ถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
๒. ให้วัดทุกวัดในราชอาณาจักรและในประเทศต่าง ๆทั่วโลก ประกอบพิธีมหามงคลเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศล ตามคู่มือประกอบพิธีมหามงคลที่มหาเถรสมาคมได้จัดพิมพ์ถวายไว้แล้ว
๓. ให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ตามมติมหาเถรสมาคมจัดให้มีการปฏิบัติธรรมในช่วงวันดังกล่าว แต่ละครั้งตามความเหมาะสม
๔. ให้วัดทุกวัดเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากทำวัตรสวดมนต์เย็นตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
๕. มอบพระพรหมเวที พระพรหมวชิรญาณ พระพรหมสุธี พระธรรมกิตติเมธี และพระธรรมวรเมธีเป็นผู้ประสานงานให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ แก่เจ้าคณะผู้ปกครองรวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานในส่วนกลาง

พระสงฆ์ผู้จบปริญญาเอกอายุมากที่สุด


พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าวว่า จากพิธีประทานปริญญาบัตรแด่พระนิสิตที่จบการศึกษาระดับต่างๆของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ประจำปี ๒๕๕๒ มีพระนิสิต ๑รูป อายุ ๗๘ ปี จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และเข้ารับประทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชไปแล้ว จึงไปตรวจสอบข้อมูลพบว่า พระนิสิตรูปดังกล่าว คือ พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าคณะ จ.สุรินทร์ทั้งนี้ ช่วงที่ตนเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มีโอกาสสอนพระธรรมโมลีระหว่างเรียนปริญญาเอก โดยเจ้าตัวให้
เหตุผลในการเรียนว่า มีแรงบันดาลใจจากการเห็นพระรุ่นน้องมีความสามารถจึงอยากจะมีความรู้ความสามารถแบบพระรุ่นน้องบ้าง และอยากเป็นแบบอย่างให้พระสงฆ์ทั่วไปที่ยังอายุน้อยให้หันมาสนใจเรียนเพราะเห็นว่าปัจจุบันพระอายุน้อยๆสนใจเรียนหนังสือน้อยลงพระศรีคัมภีรญาณ กล่าวอีกว่า พระธรรมโมลี ไม่เคยขาดเรียน แม้ในการมาเรียนแต่ละครั้งจะต้องนั่งรถไฟ จากจ.สุรินทร์ เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพและสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วงทำสารนิพนธ์ ซึ่งตามหลักสูตรต้องทำสารนิพนธ์ก่อน ๓ ฉบับ ก่อนจะทำวิทยานิพนธ์ พระธรรมโมลีทำสารนิพนธ์ไม่ผ่าน ๒ ฉบับ ต้องแก้หลายครั้ง แต่มีความพยายามทำจนผ่านและได้ทำวิทยานิพนธ์พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) นิสิตมจร.ศึกษาจบพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ทำวิทยานิพนธ์ผ่านได้รับปริญญาเอก ณ อายุ ๗๘ ปี เป็นพระเถรนักการศึกษา เช่นพระเถรเจ้าฟ้าราหุลกุมาร พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญในเอกทัคคะเช่นนี้ ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ แด่พระคุณท่านผู้หาได้ไม่ง่าย ผู้มีใจฝักใฝ่ในการศึกษาพระปริยัติธรรมถึงระดับสูงสุด

ผลสอบบาลีสนามหลวง

ผลการสอบบาลีสนามหลวงปีนี้ปรากฏว่าในชั้นประโยคสูงสุดคือ ป.ธ.๙ มีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้ ๔๓รูป จากสถิติผู้เข้าสอบ ๓๘๖ รูป โดยวัดสร้อยทองคว้าแชมป์อันดับ ๑ สอบ ป.ธ.๙ ได้มากที่สุด ๕ รูป อันดับ ๒วัดพระธรรมกายและวัดเทพลีลา สอบได้ ๔ รูปเท่ากัน ส่วนผลสอบรวมทุกประโยคในรอบแรกนี้ทางวัดโสธรวรารามยังทำแต้มนำอยู่โดยมีวัดตากฟ้ากับวัดพระธรรมกายไล่กวดตามมาติดๆ ต้องรอตัดสินชี้ขาดกันอีกทีในผลการสอบครั้งที่ ๒เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม เวลา ๑๕.๓๐ น. ที่ศาลาอบรมสงฆ์วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ได้จัดการตรวจผลสอบประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๓ ตั้งแต่ระดับป.๑-๒ ถึงระดับป.ธ.๙ และประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงอย่างเป็นทางการ โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นประธานการตรวจผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงบรรยากาศทั่วไปเป็นไปอย่างคึกคัก มีพระเถรานุเถระ เจ้าสำนักเรียน ครูบาอาจารย์ พระภิกษุและสามเณรจากวัดต่างๆ รวมไปถึงญาติพี่น้องและคณะศิษยานุศิษย์มาร่วมรอฟังผลการสอบเป็นจำนวนมาก ในการนี้ทางวัดพระธรรมกายได้จัดการถ่ายทอดสดผ่านดาวธรรม DMC ให้ผู้ชมทั่วโลกได้ทราบผลไปพร้อมๆกันด้วยเมื่อถึงเวลาประกาศผลสอบ พระธรรมคุณาภรณ์รองเลขานุการแม่กองบาลีฯกับพระธรรมปัญญาภรณ์ เลขานุการแม่กองบาลีฯได้ทำหน้าที่อ่านรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีสนามหลวง ผลปรากฏว่าผลสอบ ป.ธ.๙ ครั้งนี้ มีผู้สอบได้๔๓ รูป เมื่อเทียบกับผลสอบเมื่อปี ๒๕๕๒ ที่มีผู้สอบได้ป.ธ.๙ จำนวน ๔๐ รูป มากกว่าเพียง ๓ รูปเท่านั้น โดยมีสามเณรสอบได้ ป.ธ.๙ จำนวนทั้งสิ้น ๔ รูป ส่วนวัดหรือสำนักเรียนที่มีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้ ป.ธ.๙ มากที่สุดได้แก่ อันดับที่ ๑ วัดสร้อยทอง สอบได้ ๕ รูป อันดับที่ ๒คือ วัดพระธรรมกายกับวัดเทพลีลา สอบได้ ๔ รูปเท่ากัน


ผลสอบบาลี

สำหรับรายชื่อพระภิกษุ-สามเณรที่สอบได้ประโยค
บาลีสนามหลวง ป.ธ.๙ ประจำปี ๒๕๕๓ มีดังนี้
๑. พระมหาปรีชา ชุติญาโณ วัดชนะสงคราม
๒. พระครูปลัดสุวัฒนพรหมวุฒิคุณ วัดไตรมิตรวิทยาราม
๓. พระมหาสมพร สุภากาโร วัดเทพลีลา
๔. พระมหาเกรียงศักดิ์ รตนโชโต วัดเทพลีลา
๕. พระมหานรินทร์ สุรปัญโญ วัดเทพลีลา
๖. พระมหาธีรชัย ทัตตสิริ วัดเทพลีลา
๗. พระมหาประจักษ์ เขมกาโม วัดนรนาถสุนทริการาม
๘. พระมหาพรพล วรพโล วัดเทวราชกุญชร
๙. พระมหาอุทิศ เทวสิริ วัดพรหมวงศาราม
๑๐. พระมหาเจนศักดิ์ อินทปัญโญ วัดพรหมวงศาราม
๑๑. พระมหาสิน เอกคัคจิตโต วัดพระเชตุพนฯ
๑๒. พระมหาสมหวัง ฐิตสังวโร วัดพระเชตุพนฯ
๑๓. พระมหาเดช ณัฏฐิโก วัดมหาพฤฒาราม
๑๔. พระมหายศวิน นาถกโร วัดสร้อยทอง
๑๕. พระมหาถาวร เทวมิตโต วัดสร้อยทอง
๑๖. พระมหาอำนาจ รตโน วัดสร้อยทอง
๑๗. พระมหาธีรพันธ์ ธีรกิตติ วัดสร้อยทอง
๑๘. สามเณรอนุชน คำมี วัดสร้อยทอง
๑๙. สามเณรบุญยงค์ พลสิงห์ วัดสระเกศ
๒๐. พระมหาภูษิต อัคควัณโณ วัดสามพระยา
๒๑. พระมหานิรันดร์ กัลยาณเมธี วัดสามพระยา
๒๒. พระมหาสุรศักดิ์ ขันติธัมโม วัดสังเวชวิศยาราม
๒๓. พระมหาภาณุมาศ วรธัมโม วัดโสมนัสวิหาร
๒๔. พระมหาสุทธิพงษ์ สุทธิวังโส วัดประยูรวงศาวาส
๒๕. พระมหาชัยณรงค์ ชินวโร วัดโมลีโลกยาราม
๒๖. พระมหาบุญลือ ปุณณโก วัดโมลีโลกยาราม
๒๗. พระมหาภูดิศ ปุญญสิทธิ วัดนางนอง
๒๘. พระมหาปัญญา อินทญาโณ วัดอนงคาราม
๒๙. พระมหาเพ็ญภาค ฐิตมโน วัดอรุณราชวราราม
๓๐. พระมหาวุฒิชัย วุฑฒิชโย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
๓๑. พระมหานนทพัทธ์ กวิชโย วัดพระธรรมกาย
๓๒. พระมหานรเทพ สิทธชโย วัดพระธรรมกาย
๓๓. พระมหาวิทยา จิตตชโย วัดพระธรรมกาย
๓๔. สามเณรโชคชัย คนไว วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
๓๕. พระมหากิตติ โกวิโทภาโส วัดจองคำ จ.ลำปาง
๓๖. พระมหานิรันดร์ สาสโนภาโส วัดจองคำ จ.ลำปาง
๓๗. พระมหาสุมินทร์ ยติกโร วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
๓๘. พระมหายุทธนา ธัมมวังโส วัดป่า่ประดู่ จ.ระยอง
๓๙. พระมหาสัมฤทธิ์ สิริวัณโณ วัดสุทิธารี จ.จันทบุรี
๔๐. พระมหาสมัย นิรุตติเมธี วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
๔๑. พระมหาวีรยุทธ วีรยุทโธ วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
๔๒. พระมหาอนุวัชร์ อภิชาโต วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
๔๓. สามเณรพงษ์พัฒน์ บ่อคำเกิด วัดหาดใหญ่สิตาราม จ.สงขลา

สถิติบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีสนามหลวงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปี ๒๕๕๓
ป.ธ.๙ มีผู้เข้าสอบ ๓๘๖ รูป สอบได้ ๔๓ รูป
ป.ธ.๘ มีผู้เข้าสอบ ๓๙๔ รูป สอบได้ ๖๖ รูป
ป.ธ.๗ มีผู้เข้าสอบ ๕๗๙ รูป สอบได้ ๑๒๒ รูป
ป.ธ.๖ มีผู้เข้าสอบ ๖๙๔ รูป สอบได้ ๒๘๔ รูป
ป.ธ.๕ มีผู้เข้าสอบ ๘๓๑ รูป สอบได้ ๒๐๕ รูป
ป.ธ.๔ มีผู้เข้าสอบ ๑,๓๔๐ รูป สอบได้ ๒๘๑ รูป
ป.ธ.๓ มีผู้เข้าสอบ ๓,๓๐๒ รูป สอบได้ ๕๗๖ รูป
ป.ธ.๑-๒ มีผู้เข้าสอบ ๑๓,๖๑๓ รูป สอบได้ ๑,๖๕๗ รูป

๕ อันดับวัดที่สอบเปรียญเอกได้มากที่สุด
อันดับ วัด ป.ธ.๗ ป.ธ.๘ ป.ธ.๙ รวม
๑ วัดเทพลีลา กทม. ๗ ๖ ๔ ๑๗
๒ วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี ๑๐ ๒ ๔ ๑๖
๓ วัดจองคำ จ.ลำปาง ๕ ๓ ๒ ๑๐
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ๔ ๖ - ๑๐
๔ วัดสามพระยา กทม. ๔ ๒ ๒ ๘
๕ วัดโมลีโลกยาราม กทม. ๕ - ๒ ๗

๕ อันดับวัดที่สอบรวมทุกประโยคได้มากที่สุด (รอบแรก)
อันดับ วัด รวม/รูป
๑ วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา ๑๑๕
๒ วัดตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ๙๕
๓ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ๙๐
๔ วัดจองคำ จ.ลำปาง ๗๘
๕ วัดโมลีโลกยาราม ๖๐

สำหรับคณะจังหวัดที่มีพระภิกษุสามเณรสอบได้มากที่สุดในรอบแรกได้แก่ ๑. คณะจังหวัดขอนแก่น๑๔๗ รูป ๒. คณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ๑๔๐ รูป ๓. คณะจังหวัดนครสวรรค์ ๑๒๕ รูป ๔. คณะจังหวัดปทุมธานี ๑๒๑ รูป ๕. คณะจังหวัดหนองคาย ๑๐๔ รูปสำหรับพระภิกษุสามเณรที่สอบได้ ป.ธ.๙ และสำนักเรียนที่มีผลงานดีเด่นประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ นี้ ทางวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายจะจัดพิธีมุทิตาสักการะและถวายรางวัลเกียรติยศให้อย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติในวันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓

พศ.จัดงบหนุนอบรมบาลี

นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท อุดหนุนโครงการอบรมบาลีก่อนสอบทั่วประเทศ จำนวน ๓๒ หน่วย โดยมีเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม คือพระภิกษุ สามเณร ที่กำลังศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ชั้นประโยค ๑-๒ ถึงชั้นป.ธ. ๙ ประโยคจำนวน ๑๐,๗๘๒ รูป แบ่งการอบรมออกเป็น ๓๙ ครั้ง ในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาในการอบรมประมาณ ๑๕-๒๐ วัน
โดยในแต่ละวันแบ่งการอบรมออกเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงเช้า(๐๘.๐๐-๑๐.๓๐น.) ช่วงบ่าย (๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.) และช่วงเย็น (๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.) ทั้งนี้ โครงการอบรมบาลีก่อนสอบเป็นโครงการที่คณะสงฆ์ และแม่กองบาลีสนามหลวง ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้พระภิกษุ-สามเณรผู้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนบาลี ได้มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เรียนและเพิ่มเติมทักษะในการทำข้อสอบสนามหลวงด้วย จัดว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดภูมิความรู้ในวิชาบาลีแน่นขึ้น และมีความพร้อมในการเข้าสอบสนามหลวง ตลอดทั้งเพื่อให้มีผลการสอบไล่ได้ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์และพระศาสนา สำหรับการจัดโครงการอบรมบาลีก่อนสอบในแต่ละแห่งนั้น ต้องอาศัยความเสียสละ ทุ่มเท ความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับตั้งแต่เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วยกันดูแลความเรียบร้อยในการดำเนินโครงการแล้ว ยังได้ช่วยกันสนับสนุนงบประมาณในการจัดอบรมมาก
บ้างน้อยบ้างตามกำลัง เพราะการดำเนินโครงการอบรมบาลีก่อนสอบต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าภัตตาหาร น้ำปานะ เป็นต้น และงบประมาณที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้สนับสนุนก็เพียงน้อยนิดเท่านั้น ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจริง

ทุนฆราวาสเรียนฟรี ม.มมร.

นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) เปิดเผยว่าในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช-วิทยาลัยจะเปิดรับนักศึกษาฆราวาส ภาคปกติทั้งหญิงและชายแบบรับตรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นปีแรกจำนวน ๑๐๐ คน ใน ๔ คณะประกอบด้วย ๑.คณะมนุษยศาสตร์ ๒.คณะศึกษาศาสตร์ ๓.คณะสังคมศาสตร์ และ ๔.คณะศาสนาปรัชญาโดยจะเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยจะมีทั้งการสอบคัดเลือก และให้ทุนเรียนฟรีจนจบปริญญาตรี ในส่วนของการให้ทุนเรียนฟรีนั้นจะได้พิจารณานักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจนจากทั่วประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจะให้ส่งประวัติ รูปถ่าย ผลการเรียน อาชีพของผู้ปกครอง รายได้มาที่สำนักงานอธิการบดีมหามกุฏฯ วัดบวรนิเวศฯ กรุงเทพฯ
จากนั้นจะพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อนัดให้มาสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ได้รับทุนทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจะรับผิดชอบในส่วนของค่าหน่วยกิตให้ทั้งหมดรวมไปถึงที่พัก โดยจะให้พักที่หอพักของทางมหามกุฏฯ ที่มีหอพักรองรับทางหอพักชายและหอพักหญิงการที่มีโครงการ
ให้ทุนเรียนฟรี และรับตรงนักศึกษาฆราวาสนั้น ด้วยมหามกุฏฯเห็นว่ายังมีเด็กจากต่างจังหวัดอีกจำนวนมากที่เรียนดีแต่ยากจนทำให้ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับสูงเพิ่มเติมอีกทั้งเพื่อต้องการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในการนี้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่เน้นการเรียนการสอนในทุกคณะ จะเน้นในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ทำให้ผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะได้รับการส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ด้วยสำหรับผู้ที่สนใจจะต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า การรับสมัครทั้งในส่วนทุนเรียนฟรี และสอบคัดเลือก สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศฯ เขตพระนครกรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียด โทร. ๐-๒๒๘๒-๘๓๐๒ ต่อ ๒๕๐

ร่างแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พุทธศักราช๒๕๕๐ กำหนดให้มีศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีอุดมการณ์ ความรู้ ความสามารถทักษะ และวิธีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปอบรมสั่งสอนประชาชนให้นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบสัมมาชีพ
และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข สอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีพระพรหมโมลี กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขานุการสำหรับในสวนภูมิภาคกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานกลางประจำจังหวัด ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก เป็นที่ปรึกษา พัฒนาบุคลากรการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์และปฏิบัติตามนโยบาย ข้อกำหนด ข้อบังคับวัตถุประสงค์ และอื่นๆตามที่ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนดหรือมอบหมาย โดยมีเจ้าคณะภาคเป็นที่ปรึกษา มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นเลขานุการซึ่งมหาเถรสมาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการครบทุกจังหวัดแล้ว เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามนโยบายของ มส. คณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาพ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๘ ขึ้นเพื่อเป็นนโยบายสำหรับนำไปปรับ
ในการจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการของศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัด ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญของแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๘ ประกอบด้วย
๑. ยุทธศาสตร์ ที่ ๑ อุปถัมภ์ ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๒. ยุทธศาสตร์ ที่ ๒ เพิ่มและพัฒนาบุคลากรผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีศักยภาพ และขีดความสามารถ
ในการเผยแผ่
๓. ยุทธศาสตร์ ที่ ๓ จัดกิจกรรมการเผยแผ่หลักธรรมด้วยรูปแบบ และวิธีการที่หลากหลาย
๔. ยุทธศาสตร์ ที่ ๔ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดประชุมประชาพิจารณ์ตามเขตปกครองคณะสงฆ์ระดับหน เมื่อผ่านกระบวนการขั้น
ตอนนี้แล้วจะได้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนำเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไป

นิตยสารต่างประเทศเสนอข่าวการบวชพระแสนรูป

ข่าวการบวชพระแสนรูป ไม่ใช่จะโด่งดังเฉพาะในผืนแผ่นดินไทย แต่กระจายไปทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยข่าวบวชพระแสนรูป ลงนิตยสารชื่อดังของประเทศเยอรมนีนิตยสารดังกล่าวมีชื่อว่า Stern(ชแตนด์) ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า star เป็นนิตยสารวิชาการระดับแนวหน้าของประเทศเยอรมนี เทียบได้กับ national geographicออกรายสัปดาห์ และมีผู้ติดตามอ่านทั่วประเทศกว่า ๗ ล้านคนเนื้อหาเน้นด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จึงเป็นที่นิยมของคนระดับปัญญาชน der Stern ยังมีสถานีโทรทัศน์และพิธีกรชื่อดัง เมื่อพิธีกรหยิบยกประเด็นใดมาทำรายการก็จะเป็นกระแสที่แรงมากในสังคมและล่าสุดนิตยสารนี้ ได้ลงข่าวงานบวชที่วัดพระธรรมกายประเทศไทย เผยแพร่ไปทั่วเยอรมนี ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๓ ใช้หัวข้อว่าภาพแห่งสัปดาห์ เนื้อหาข่าวในนิตยสารเขียนไว้ว่าภาพของชายภายใต้จีวรสีส้ม ที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ อยู่ในท่านั่งคุกเข่า กำลังหมอบกราบหน้าผากแตะพื้น ในระหว่างแขนที่แนบพื้นอย่าง สงบ เสงี่ยม สง่างามตามเส้นรอบวงที่ดูเหมือนว่าจะหาที่สุดไม่ได้ ชายไทยกว่า๓๔,๐๐๐ คน เดินทางจากทั่วประเทศ มาร่วมกันสงบนิ่งปฏิบัติสมาธิ ในพิธีกรรมงานบวชที่ยิ่งใหญ่ของวัดพระธรรมกายอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพวัดพระธรรมกายถือเป็นวัดที่มีความสามารถในการจัดพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ ปราณีตทุกรายละเอียดและทุกขั้นตอน จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ทุกคนได้แสวงหาสันติสุขภายในร่วมกัน ผู้มาร่วมงานกล่าวว่า คณะสงฆ์มีวัตถุประสงค์ ให้สันติสุขภายในที่เกิดขึ้นนี้ แผ่ขยายไปถึงทุกคนในสังคม เพื่อให้สังคมสงบสุขมากขึ้น และสันติสุขภายในจะทำให้เกิดสันติภาพของโลกในที่สุด"

 ไทย-ญี่ปุ่นร่วมจัดสัมมนาเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกปี ๕๓

เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ที่ผ่านมา พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. พร้อมด้วยนายฮิโรชิมาซุโมโตประธานชาวพุทธนิกายเบียวยูไก (ITRI) ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมแถลงข่าวการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมอาคารอธิการบดีมจร.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพระธรรมโกศาจารย์แถลงว่า ที่ประชุมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกวันนี้ได้บรรลุข้อตกลงให้กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พ.ค.๒๕๕๓ โดยจะมีพิธีเปิดการประชุมในวันที่ ๒๓ พฤษภาคมณ ห้องประชุม มวก. ๔๘ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ มจร.วังน้อย และประชุมวิชาการในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ซึ่งห้องประชุมดังกล่าวสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ ๓,๐๐๐คน และมีห้องประชุมย่อยอีก ๔ ห้อง พร้อมห้องประชุมย่อยที่อาคารเรียนรวม ๔ ห้อง โดยจะเชิญผู้แทนชาวพุทธจากต่างประเทศที่มีอำนาจตัดสินใจมาเข้าร่วมประชุมให้ ได้จำนวน ๘๒ ประเทศ เท่ากับพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิการบดี มจร. กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมชาวพุทธนานาชาติฯปีนี้ ที่ประชุมตกลงใช้หัวข้อใหญ่คือ “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก : ตามทัศนะชาวพุทธ” (Global
Recovery : TheBuddhist Perspective)



















การบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีคุณค่าหลายประการดังต่อไปนี้
๑. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีฐานะพิเศษสูงส่งกว่าคนธรรมดา คือได้เป็นลูกของพระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธศาสนาเริ่มเจริญแพร่หลาย พระภิกษุที่ไปประกาศพระพุทธศาสนาถูกชาวบ้านถามว่า ท่านเป็นนักบวชกลุ่มไหน เรียกตัวเองว่าอย่างไร ก็ตอบเขาไม่ได้หรือตอบไปแตกต่างกันตามความเห็นของตน เมื่อได้โอกาสเหมาะจึงเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าพระองค์จึงตรัสว่า ถ้ามีคนถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้ตอบว่าพวกเราเป็นศากยบุตรก็แล้วกัน ศากยบุตรแปลว่า บุตรของพระศากยพุทธ
๒. การบวชเป็นการปรับเปลี่ยนชีวิตไปอยู่ในอีกโลกหนึ่งซึ่งเป็นโลกแห่งความสงบสุขโลกแห่งความบริสุทธิ์ โลกแห่งอิสรเสรี โลกแห่งความเบาสบาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากโลกแห่งฆราวาส ผู้บวชจะได้สัมผัสและเรียนรู้โลกทั้ง ๒ ความรู้จะได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
๓. การบวชเป็นโอกาสอันเหมาะสมสำหรับการศึกษาพุทธปรัชญาให้เข้าใจอย่างถูกต้องครบถ้วนและลึกซึ้ง จะได้เห็นด้วยตนเองว่า พุทธปรัชญา ซึ่งเป็นปรัชญาชีวิตอันประเสริฐที่โลกกำลังหันมาสนใจศึกษาและปฏิบัตินอย่างจริงจังนั้นเป็นอย่างไร
๔. การบวชเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่สุดสำหรับการทดลองปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างจริงจัง เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง ผลของการปฏิบัติก็จะเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติจะได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ทางจิตอันประเสริฐ คือ สว่าง สะอาด สงบ สุข ที่ไม่เคยประสบมาก่อนเลยในชีวิต จะได้เสวยวิมุติสุขอันสูงสุด ที่ไม่เคยประสบมาเลยในชีวิต จะได้เห็นคุณค่าอันแท้จริงของพระพุทธศาสนา
๕. เมื่อมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธแล้ว จะได้นำไปประกาศเผยแผ่แก่คนอื่น ให้เขาเกิด ความสว่าง สะอาด
สงบ สุข เช่นเดียวกับตน
๖. การบวชเท่ากับบำเพ็ญตนเป็นศาสนทายาทอย่างแท้จริงเพราะพระพุทธศาสนามีอายุยืนนานมาได้ประมาณเกือบ ๒๖๐๐ ปี ก็เพราะพระสงฆ์ช่วยกันรักษาไว้ด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา ปรึกษากิจ ใกล้ชิดชาวบ้าน สืบสานวัฒนธรรม เป็นผู้นำทางจิตใจของสังคมถ้าไม่มีพระสงฆ์พระพุทธศาสนาก็คงหายไปจากโลกนานมาแล้ว ตามประวัติศาสตร์นั้นพระพุทธศาสนาเสื่อมหรือสูญหายไปจากประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น เพราะจำนวนพระมีน้อยลง และที่มีอยู่ก็เป็นพระทุศีลประชาชน
เสื่อมศรัทธา 
๗. การบวชเป็นพระเป็นวิธีการตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาที่ดีที่สุดเฉพาะอย่างยิ่งมารดา บิดานั้นบวช เองได้อยู่แล้ว การบวชเป็นพระปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา
อย่างจริงจัง ตั้งตนอยู่ในระเบียบวินัยของวัด เชื่อฟังครูบาอาจารย์ ทำหน้าที่ของสงฆ์ให้ครบถ้วน ย่อมได้บุญมากเป็นธรรมดา ถ้าอุทิศบุญนั้นให้มารดาแม้ที่ยังมีชิวิตอยู่ ท่านย่อมได้บุญมากเช่นกัน มีมารดาเป็นอันมากเมื่อเห็นลูกอยู่ในชุดผ้าเหลืองเป็นครั้งแรกในวันบวช ปลื้มปีติยินดีจนน้ำตาไหลมีนิทานเล่าว่า มียายแก่คนหนึ่งทำบาปไว้มาก เมื่อตายลงวิญญาณของแกจึงถูกนำไปสู่ยมโลก พระยายมเปิดดูบัญชีประวัติของแกแล้วพบแต่บาปทั้งนั้นจึงตัดสินให้นำไปซัดลงนรกขณะที่ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปสู่นรกนั้นได้ผ่านกอไผ่กอหนึ่ง พอดีขณะนั้นสายลมพัดมาทำให้ใบไผ่แก่ๆสีเหลืองร่วงหล่นลงสู่พื้น
ยายแก่พอเห็นใบไผ่ลอยตามสายลมจึงเอ่ยขึ้นว่า “ใบไผ่เหล่านี้ มีสีคล้ายสีจีวรของพระลูกชายฉันเหลือเกิน”เจ้าหน้าที่นรกต่างหยุดชะงักแล้วถามว่า “ลูกชายของยายกำลังบวชเป็นพระอยู่หรือ?”
“ใช่แล้ว”ยายตอบ
“อ้าว ถ้าอย่างนั้น ยายจะต้องขึ้นสวรรค์ จะตกนรกไม่ได้”
ยายแก่ถูกนำกลับไปสู่สำนักงานพระยายม พระยายมทราบรายงานของเจ้าหน้าที่แล้ว เอาปากกาหมึกเหลืองลบ
บาปทั้งหมดของยายแก่ออกจากบัญชีแล้วเรียกเทวดามารับยายแก่ไปสวรรค์

 มุมมองเกี่ยวกับโครงการอุปสมบทหมู่หนึ่งแสนรูป

 คุณวิรุฬ เตชะไพบูลย์
ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า“โครงการอุปสมบทหมู่หนึ่งแสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทยในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์โลก และเป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เพราะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีการบวชในคราวเดียวกันถึงหนึ่งแสนรูปและจะเป็นก้าวแรกที่ไม่ใช่ก้าวเดียวแต่จะมีก้าวต่อๆไป ที่คนไทยทุกคนควรสนับสนุนให้เกิดเป็นเรื่องที่ทำเป็นประจำเพื่อแก้ปัญหาวัดร้างให้เป็นวัดรุ่งและเพื่อเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวนาน”


ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด
ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรมจริยธรรม ศิลปะวัฒนธรรม วุฒิสภาเมื่อกุลบุตรได้ห่มครองผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นคือสัญญาณของการสลัดเพศคฤหัสถ์เข้าสู่ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา และยังเป็นสัญญาณของการสลัดทิ้งเงื่อนปมแห่งกิเลสทั้งมวลที่เคยผูกร้อยรัดชีวิตสืบมาเป็นเวลาช้านาน นั่นย่อมเป็นบุญอย่างยิ่งกุลบุตรเมื่อบวช ย่อมได้ทั้งพึ่งพระศาสนา และพระศาสนาก็ได้พึ่งกุลบุตร มีการพึ่งพาอาศัยกันอยู่เช่นนี้ พระศาสนาจะตั้งมั่นอยู่ได้ก็ด้วยแก้วสามประการ คือ พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้เลยการบวชแม้จะเป็นสิ่งสำคัญแต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย การบวชพร้อมกันนับแสนรูป ยิ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในยุคนี้ ซึ่งผู้คนมีจิตใจหนาหนักไปด้วยกิเลสบางทีสีเหลืองแห่งผ้ากาสาวพัสตร์ จักเป็นดังคบเพลิงที่เปิดใจผู้คนให้หันมาสู่คลองธรรมที่บรรพบุรุษไทยเคยอุปถัมภ์ค้ำชูมาช้านาน แผ่นดินไทยศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะอยู่ใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาขออนุโมทนาแก่พระภิกษุทุกรูป ผู้ซึ่งได้ดลบันดาลความอัศจรรย์แห่งยุคสมัยให้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้

คุณวันชัย จิราธิวัฒน์
ประธานกรรมการของกลุ่มบริษัทในเครือเซ็นทรัล ท่านได้อนุมัติให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทั้ง ๑๕สาขาและห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีทุกสาขาทั่วประเทศช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการอุปสมบทหมู่หนึ่งแสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทยในครั้งนี้ ท่านกล่าวว่า “ผมยินดีให้การสนับสนุนโครงการบวชพระแสนรูปนี้อย่างเต็มที่ครับและจะให้การสนับสนุนจนกว่าจะบรรลุผลครับ”

 คุณผกามาศ บุญธรรม
ประธานศูนย์กัลยาณมิตรขอนแก่นกล่าวถึงการจัดการบวชพระหนึ่งแสนรูปว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากๆ ท่านเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นก็ชื่นชม และให้การสนับสนุนดีมาก การฝึกก่อนบวช ๒ สัปดาห์ดีมากเพราะทำให้ธรรมทายาท พร้อมเพรียงกันในการ ลุกนั่ง เดิน ฉันโครงการนี้ทำให้หลายคนเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม เกิดมโนธรรมขึ้นในใจ เกิดความเห็นอกเห็นใจบุตรภรรยาที่บ้าน พากันหักดิบเลิกเหล้าเลิกบุหรี่และตั้งใจจะเป็นคนดี บางคนไม่อยากสึกอยากจะกลับไปอยู่วัดใกล้บ้าน ซึ่งบางวัดมีพระอยู่เพียงรูปเดียว

 ความภาคภูมิใจของชายชาตินักรบเรือเอกชินวัตร น้อยวัน
ผู้เคยเป็นนายทหารประจำเรือน้ำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งกัปตัน หรือ
ผู้บังคับการเรือผู้ซึ่งมีเหตุการณ์ที่ฝังใจไม่ลืม เมื่อได้รับคำสั่งให้ไปประจำการที่น่านน้ำประเทศอิรัก ในปี ๒๕๓๒ เรือดำน้ำที่เขาควบคุมอยู่นั้นบรรจุขีปนาวุธอานุภาพร้ายยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาถึง ๒๐๐ เท่า ทั้งยังมีถึง ๒๔ ลูก อานุภาพขนาด
นี้จากหากยิงใส่เมืองไทยแม้เพียงลูกเดียวทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลจะราบเป็นหน้ากลองไปเลยและผู้มีสิทธิ์ที่จะกดปุ่มยิงขีปนาวุธนี้ออกไปได้ คือ ตัวเขานั่นเอง ขณะที่เขากบดานอยู่ใต้น่านน้ำ นิ้วมือจรดอยู่ที่ปุ่มมหาประลัย รอเพียงคำสั่งยิงเท่านั้นในที่สุดก็มีคำสั่งสุดท้าย “ให้ถอยได้ ไม่ต้องยิงแล้ว” ทำให้เขาโล่งอกที่ไม่ต้องทำปาณาติบาตครั้งใหญ่ จากนั้นจึงตัดสินใจลาออกจากทหารเรือและมาทำงานที่บริษัท ๓ M ทันทีเรือเอกชินวัตรให้สัมภาษณ์ว่า “เราเป็นชาวพุทธ ต้องศึกษาพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้ง อย่าเป็นชาวพุทธแต่ในทะเบียนบ้าน พระเป็นเพศภาวะอันสูงส่ง และน่ากราบไหว้ คนทั้งโลกกำลังมุ่งมาหาพุทธศาสนาที่เมืองไทย แต่ชาวพุทธเรากำลังละเลยพระศาสนา พวกเรานักรบกองทัพธรรมต้องลุยกันต่อไปเพื่อปลุกชาวพุทธให้ตื่นตัว” นอกจากนี้เขาได้กล่าววาทะอันน่าประทับใจทิ้งท้ายไว้ว่า “ความภูมิใจที่ผมได้เป็นยอดนายทหารประจำกองเรือดำน้ำและเคยได้รับการเคารพจากกองเกียรติยศจากนายทหารรอบข้างในวันที่เรือดำน้ำลอยขึ้นสู่ผิวน้ำนั้น ยังเทียบไม่ได้ แม้เพียงนิดเดียวกับความภาคภูมิใจจากการที่ผมได้สวมผ้ากาสาวพัสตร์ในวันที่ผมบวช ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบล”

ก่อนอื่น จม.ข่าวสหธรรมิกขอถือโอกาสแสดงมุทิตาจิตต่อพระเถรานุเถระพระสังฆาธิการที่ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาดังนี้พระธรรมวราภรณ์ (มนตรี คณิสฺสโร ป.ธ.๕)ธ. เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ เจ้าคณะภาค ๑๑ (ธ.) และพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล ป.ธ.๕)ธ. เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมแทนตำแหน่งที่ว่างลงของพระสาสนโสภณวัดราชบพิธและพระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะซึ่งเป็น มส.โดยตำแหน่งพระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏโฐ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค ๑๓ เป็นกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.)
พระเทพกิตติรังษี (ทองสา วรลาโภ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดธาตุและเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุ จ.ขอนแก่นพระราชจินดานายก (คำอ้าย สิริธมฺโม) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง จ.ลำปาง รักษาการเจ้าคณะจังหวัดลำปางขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปางพระราชเมธากรกวี (โสภณ ปญฺญาโสภโณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเสนาสนารามพระราชเมธาจารย์ (ศรีบัว ยโสธโร) วัดจำทรายมูลอ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปาง - แพร่ -น่าน - พะเยา - เชียงราย (ธ.) ต่อไปอีก ๓ ปี เฉพาะกรณีพระปริยัติกิตติคุณ (มงคล ธมฺมรกฺโข ป.ธ.๗) วัดมหัตตมังคลาราม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดสงขลาพระโสภณธรรมธาดา (หัน คุณวตฺโต) เจ้าอาวาสวัดคิรีวิหารและเจ้าคณะอำเภอจังหวัดตราด(ธ.) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดตราด(ธ.)พระศรีปริยัติมุนี (สัมพันธ์ สุจิณฺโณ ป.ธ.๙) วัดคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ พระมงคลวรการ (เจือ จิตฺติญาโณ) วัดสว่างหนองแวง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอครบุรีพระปริยัติธีรคุณ (ประวิทย์ สีหนาโท ป.ธ.๗) วัดยานนาวา ขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะเขตยานนาวา-สาทรพระปริยัติวรากร (ทองสุข ฉนฺนธมฺโม ป.ธ.๕) วัดคฤหบดี บางพลัด กทม. ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคฤหบดี พระวิเชียรโมลี (ขวัญชัย นิติสาโร ป.ธ.๙) ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนัง เขตจอมทอง กทม.
สาธุ … สาธุ… สาธุ

วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายนพ.ศ.๒๔๐๓) ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. ตั้งแต่เวลา ๙.๓๐ น. เป็นต้นไป โดยมีการถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณรจำนวน ๒๐๐ รูปวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ อันเป็นวันคุ้มครองโลกที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี จัดงานบุญใหญ่ให้พุทธบริษัทได้สร้างบุญใหญ่ หลายบุญภายในวันเดียวได้แก่
๑) พิธีรับผ้าสไบแก้ว/พิธีบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๕๐๐,๐๐๐ คน
๒) ถวายสังฆทานแด่พระภิกษุ ๑๐,๐๐๐ กว่าวัดในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นบุญอันมหาศาล และเป็นสิ่งที่เกิดขี้นได้ยากยิ่ง
๓) หล่อองค์พระธรรมกายประจำตัวประดิษฐานภายในมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นครั้งสุดท้าย ครบ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์ ก่อนที่จะปิดเจดีย์และ
๔) พิธีจุดโคมธัมมจารินีประทีปถวายเป็นพุทธบูชาวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ คณะสงฆ์วัดสัมพันธวงศ์ จัดพิธีบำเพ็ญกุศลวันอดีตเจ้าอาวาส (งานบูรพาจารย์)ณ พระอุโบสถชั้น ๒ วัดสัมพันธวงศ์ กทม.พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม ได้รับมอบหมายโดยมติของมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม
ไปรับหน้าที่เป็นประธานจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา จัดประชุมสมัย
สามัญครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๓ ณ วัดวชิรธรรมปทีป ลองไอแลนด์มหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดยในวันที่ ๒๖ จะมีงานทำบุญอายุวัฒนมงคล ๗๙ ปี ของพระเทพกิตติโสภณ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯและพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังใหม่ของวัดวชิรธรรมปทีป
เนื่องในวาระคล้ายวันเกิดของพระเถระผู้เป็นหลักแห่งสังฆมณฑลได้เวียนมาถึงในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคมนี้

จม.ข่าวสหธรรมิกขอถือโอกาสกราบมุทิตาสักการะมาด้วยความเคารพยิ่งดังนี้

๑ เมษายน พระธรรมปริยัติโมลี วัดบพิตรพิมุข กทม. พระศรีปริยัติวิมล วัดคลองโพธิ์ จ.อุตรดิตถ์
๔ เมษายน พระธรรมวโรดม วัดทินกรนิมิต จ.นนทบุรี พระเทพมงคลเมธี วัดมหาธาตุ จ.นครพนม
๕ เมษายน พระเทพปริยัติ วัดคูยาง จ.กำแพงเพชร พระราชภาวนาวราจารย์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
๑๐ เมษายน พระราชสุทธิธรรมาจารย์ วัดประยรูธรรมาราม จ.ปทมุธานี
๑๑ เมษายน พระราชชัยมุนี วัดชัยสามหมอ จ.ชัยภูมิ
๒๑ เมษายน พระเทพสิทธิโกศล วัดพลับพลาชัย กทม.
๒๒ เมษายน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
๒๓ เมษายน พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม.พระราชศีลสังวร วัดมัชฌิมาวาส จ.สงขลา
๒๗ เมษายน พระเทพโกศล วัดศรีโสดา จ.เชียงใหม่
๒๘ เมษายน พระญาณวิศิษฏ์ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๒๙ เมษายน พระราชธรรมโกศล วัดใต้ จ.อุบลราชธานี
๑ พฤษภาคม พระราชปัญญาวิสารัท วัดกระดึงทอง จ.บุรีรัมย์ พระศีลวิสุทธาจารย์ วัดเหนือ จ.อุบลราชธานี
๓ พฤษภาคม พระราชสิริชัยมุนี วัดบ้านใหม่ จ.ชัยนาท พระเทพชลธารมุนี วัดบ่อทองราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี พระราชวีรากร วัดมณีไพรสณฑ์ จ.ตาก
๕ พฤษภาคม พระราชพรหมจริยคุณ วัดเวฬุวัน จ.ร้อยเอ็ด
๘ พฤษภาคม พระเทพคุณาธาร วัดดุลยาราม จ.สตูล
๑๐ พฤษภาคม พระเทพโพธิวิเทศ วัดไทยพุทธคยา อินเดีย พระราชธรรมเมธี ที่พักสงฆ์มหานิกาย จ.กาฬสินธ์ุ
๑๒ พฤษภาคม พระราชพรหมาจารย์ วัดคีรีวงศ์ จ.นครสวรรค์
๑๓ พฤษภาคม พระธรรมมงคลรังษี วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
๑๔ พฤษภาคม พระราชปรีชามุนี วัดกลาง จ.กาฬสินธ์ุ
๑๘ พฤษภาคม พระราชวีราคม วัดก้ำก่อ จ.แม่ฮ่องสอน
๒๐ พฤษภาคม พระราชสารโกศล วัดสรภาณนิมิต จ.นครพนม พระศรีญาณวงศ์ วัดชัยมงคลพัฒนา จ.สระบุรี พระราชอุทัยกวี วัดมณีสถิตฯ จ.อุทัยธานี
๒๑ พฤษภาคม พระธรรมเจดีย์ วัดกัลยาณมิตร กทม.พระเทพกิตติรังษี วัดธาตุ จ.ขอนแก่น
๒๔ พฤษภาคม พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กทม.
๒๗ พฤษภาคม พระธรรมปัญญาบดี วัดพระเชตุพนฯ กทม.พระเทพสารสุธี วัดจันทนาราม จ.จันทบุรี




พิธีบรรพชาครั้งประวัติศาสตร์

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓วันนี้เป็นวันอัศจรรย์ วันแห่งมหาปิติที่ทุกคนรอคอยพิธีกรรมในภาคเช้าเริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๖:๓๐ น. ด้วยการเวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์ของเหล่านาคธรรมทายาทด้วยความเป็นระบบระเบียบเรียบร้อยงดงาม นับเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่หาดูได้ยากยิ่ง โดยมีคณะพระเถระ พระอุปัชฌาย์ จำนวน ๒๒๕ รูป จากทั่วประเทศที่ได้เมตตามาประกอบพิธีคล้องอังสะให้แก่นาคธรรมทายาทพระอุปัชฌาย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ คือพระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้โอวาทตอนหนึ่งว่า “การเข้ามาเป็นลูกพระพุทธเจ้า จำนวนมากมายขนาดนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เป็นความมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นต่อหน้าพระพุทธปฏิมาหนึ่งล้านองค์ นี่เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา”

พิธีภาคบ่ายเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลา ๑๖:๐๐ น. ธรรมทายาทเริ่มแปรแถว เข้าสู่พื้นที่ลานธรรม เพื่อถ่ายภาพประวัติศาสตร์ร่วมกัน และประกอบพิธีขอสรณคมน์และศีลต่อด้วยพิธีขอนิสัย เป็นอันว่านาคธรรมทายาททุกคนได้ถูกยกระดับเป็นสามเณรด้วยความบริสุทธิ์ เพื่อเตรียมตัวแยกย้ายไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัดต่างๆในวันต่อไปการบวชครั้งประวัติศาสตร์นี้ไม่ใช่เพียงบวชเพื่อรักษาประเพณี เพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ หรือเพื่อสั่งสมบุญให้แก่ตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการบวชเพื่อดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาโดยการทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่งอีกด้วยพระครูศรีปริยัติกิจ เจ้าอาวาสวัดอิสาน จังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในคณะพระอุปัชฌาย์ ได้กล่าวถึงความปลื้มปิติใจในครั้งนี้ว่า “อาตมาไม่ได้ปลื้มเฉพาะวันนี้หรอกปลื้มตั้งแต่วันแรกที่ผู้นำบุญได้เข้าไปกราบ แล้วบอกกับ
อาตมาว่า จะมีโครงการบวชพระแสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ฟังข่าวครั้งนี้แล้วรู้สึกดีใจ ในยุคปัจจุบันนี้ พระสงฆ์เราลดน้อยลงทุกวันๆโครงการของหลวงพ่อธัมมชโย ท่านเสนอมาตรงนี้เพราะท่านมองเห็นภัยของพระพุทธศาสนาแล้วก็มองเห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนา ท่านจึงได้มีครงการนี้ขึ้น”พระอินทรญาณ เจ้าอาวาสวัดเยเงศาสนะเยตะ Meditation Center
เมืองทวาย ประเทศพม่า ซึ่งวัดของท่านเคยจัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อนและแม่ชีที่เป็นเด็กนักเรียนคราวละนับพันคนอยู่เป็นประจำ ได้เดินทางมาดูงานบวชครั้งนี้ด้วยความสนใจ และเกิด
ความตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นภาพการบรรพชาอันยิ่งใหญ่งดงาม ถึงกับเอ่ยปากว่า “ดีใจและประทับใจมาก มั่นใจว่าในอนาคตพระพุทธศาสนาจะต้องปักหลักอย่างมั่นคงในแผ่นดินนี้ และอยากให้มีการบวชอย่างนี้ไปทั่วโลก”





บทสรุปแห่งความประทับใจโครงการบวชพระแสนรูป

เกียรติประวัติสูงสุดของลูกผู้ชาย ได้ถูกจารึกไว้แล้วด้วยช่วงชีวิตอันทรงคุณค่าภายใต้ผ้ากาสายะ ตั้งแต่วันที่ ๑๙มกราคม ถึง ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รวมระยะเวลา ๔๙วัน ในโครงการบวชพระหนึ่งแสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย ที่อัศจรรย์ชายร่วมแสน ได้มาฝึกหัดขัดเกลาตนเอง บ่มเพาะคุณธรรมให้เกิดขึ้นด้วยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า ทำให้สังคมหน่วยที่เล็กที่สุด คือครอบครัว ได้รับความสุขเข้ามาในบ้าน เหมือนได้รับสมาชิกใหม่ ลูกคนใหม่สามีคนใหม่ คุณพ่อคนใหม่ มีความผ่องใส ทั้งกาย วาจาใจกว่าเดิม องค์กรก็ได้พนักงานคนใหม่ ที่มีความประณีต และเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการทำงานมากขึ้น ประเทศชาติก็ได้พลเมืองที่ดี มาช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ


ประโยชน์นานัปการของการร่วมมือสร้างสรรค์ สิ่งดีๆ
ให้เกิดขึ้นในครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือ
จากทุกฝ่าย ทั้งคณะสงฆ์ทั่วทั้งแผ่นดิน องค์กรปกครอง
ท้องถิ่นทั้งหลาย วัดวาอาราม และศูนย์อบรมทั้งหลาย
ตลอดจนผู้นำบุญ และพี่น้องนักสร้างบารมีทุกท่าน ที่ได้
ทุ่มเท เสียสละ ทั้งแรงกาย และแรงใจ เพื่อผลักดันงาน
พระศาสนาครั้งนี้ให้บรรลุเป้าหมาย


ประเพณีการบวชของไทย ที่นับวันจะห่างหายก็ได้
รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และทุกๆกิจกรรมในโครงการบวชล้วนรังสรรค์ตระการตาติดตา
เป็นภาพประวัติศาสตร์ชีวิตที่งดงามให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกประเพณีการแห่นาค พิธีปลงผม
พิธีขอขมาและถวายผ้าไตร การบรรพชาอุปสมบท การตักบาตรการเดินธุดงค์ ภาพเหล่านี้ได้สร้างความปลื้มปิติ เบิกบานและประทับใจอย่างยิ่งยวดแก่ผู้ได้พบเห็นทั่วโลก และเป็นผลทำให้เกิดโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนห้าแสนคน และโครงการบวชเข้าพรรษา หนึ่งแสนรูป อย่างต่อเนื่องตามมา
เป็นต้น





























ธุดงค์ธรรมชัย

 รอยจารึกอันเป็นมงคล ที่ปรากฏบนผืนแผ่นดินไทย
พัฒนาวัดร้างให้เป็นวัดรุ่งและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา


เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระศาสนา ซึ่งภายในพรรษาแรกก็มีพระอรหันต์ บังเกิดขึ้นในโลกถึง ๖๑ รูป ด้วยกันและต่อมาพระสงฆ์สาวกเหล่านี้ ได้ออกจาริกไปเผยแผ่พระธรรมตามแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนชมพูทวีป เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ และเหล่าเทวดาซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้พระพุทธ-
ศาสนาแผ่ขยายอย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบทอดผ่านกาลเวลาอัน
ยาวนานมาถึงทุกวันนี้แต่ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้นน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย จากตัวเลขทางสถิติที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสำรวจ ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ระบุว่าประเทศไทยมีวัดร้างถึง ๕,๙๓๗ วัด ศาสนทายาทก็ลดน้อยลงไปเป็นจำนวนมาก การบวชก็บวชกันตามประเพณีและบวชในช่วงสั้นเป็นส่วนใหญ่รวมถึงปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดจากการขาดศีลธรรมของผู้คน

พระพุทธศาสนากำลังต้องการพุทธบุตรผู้กล้าที่จะออกจาริกไป เพื่อเผยแผ่พระสัทธรรมตามรอยพระบาทของพระศาสดา และเหล่าพระอรหันต์เพื่อช่วยกันสืบทอดอายุพระศาสนาโดยการฟื้นฟู
พระศาสนาและพัฒนาวัดร้างให้กลับคืน เป็นวัดรุ่งอีกครั้งหนึ่งโครงการ “ธุดงค์ธรรมชัย” จึงเกิดขึ้นจากดำริของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์(หลวงพ่อธัมมชโย) เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธบุตรกองพัน กองพลสถาปนา พระพุทธบุตรแสนรูปและที่จะมีในรุ่นต่อๆไปได้ออกไปทำหน้าที่พัฒนาวัดและพัฒนาจิตใจของญาติโยมไปพร้อมๆกันทั้งในเรื่องกิจวัตร กิจกรรม เช่น การสวดมนต์
ทำวัตร เช้า-เย็น การเจริญสมาธิภาวนา การฟังธรรม นอกจากนี้ยังมีการรับบุญพัฒนาปรับปรุงวัดให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้นบุญต้นแบบ ให้แก่ญาติโยมได้ปฏิบัติตาม






















                                                                                                    ภาคตะวันตก


“ธุดงค์ธรรมชัย” เป็นประหนึ่งรอยจาริกอันเป็นมงคลที่ปรากฏบนพื้นแผ่นดินไทยในยุคนี้ โดยมีเป้าหมายนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างความดีอย่างต่อเนื่อง และเพื่อการพัฒนาวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง
ซึ่งการเดินธุดงค์ธรรมชัยทั่วไทยทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมาได้ช่วยปลุกกระแสการฟื้นฟูศีลธรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธให้หวนคืนมาได้อย่างอัศจรรย์เพราะตลอดทุกเส้นทางที่พระธุดงค์จาริกผ่านไป ล้วนได้รับการอุปัฏฐากต้อนรับจากญาติโยมเป็นอย่างดี หลายวัดญาติโยมเข้าร่วมทำวัตรสวดมนต์นั่งสมาธิและฟังเทศน์ฟังธรรมจำนวนมาก แสดงว่ายังมีพุทธศาสนิกชนอีกเป็นจำนวนมาก กำลังรอคอย
พุทธบุตร ให้เข้าไปจุดประกายไฟแห่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้หวนกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่ชาวพุทธชายแท้ แมนแมน จะได้เข้ามาช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ในยุควิกฤต เช่นนี้





















เมื่อหน่ออ่อนผลิบาน ไม้ช้านานก็จะขยายเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขไปทั่วโลกระยะเวลาเพียง ๘ วันของการอบรมได้พลิกหน้าประวัติศาสตร์การทำความดีครั้งยิ่งใหญ่ของลูกผู้หญิง แสดงให้เห็นถึงพลังสตรี ที่ทรงอานุภาพในการคุ้มครองโลกใบนี้ด้วยคุณงามความดีที่เบิกบานในหัวใจภาพแห่งความประทับใจที่ลูกผู้หญิงต้องจดจำไปชั่วชีวิต คือภาพแห่งความพร้อมเพียง ของเหล่าอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ที่ฝึกฝนอบรมตนเองมาอย่างดี เข้าร่วมประกอบพิธี ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ของวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ด้วยความสดชื่นเบิกบาน หลังจากกลั่นใจให้บริสุทธิ์ในภาคสาย ภาคบ่ายร่วมสอบตอบปัญหา ศีลธรรมเพื่อสันติภาพ
โลก พิธีรับผ้าสไบแก้ว จากนั้นภาคเย็นได้ร่วมประกอบพิธีบวชและปิดท้ายด้วยการจุดโคม ธัมมจารินีประทีปครั้งแรกของโลก ได้สร้างความปลื้มปิติประทับใจให้กับอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนผู้มีบุญทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ครั้นเมื่อได้เดินทางกลับไปถึงศูนย์อบรม ทุกคนต่างตั้งใจใช้วันเวลาที่เหลือเก็บเกี่ยวบุญกุศลอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังธรรม ทำความเพียรภาวนา รวมถึงใช้วิชาวัฒนธรรมชาวพุทธที่ได้เรียนรู้มา มาพัฒนาทำความสะอาดวัดให้ดูสว่างสดใส มีการตั้งชมรมอุบาสิกาแก้ว เพื่อขยายผลการทำหน้าที่ฟื้นฟูพระศาสนาอย่างเข้มแข็งในทุกพื้นที่ ทำให้ระยะเวลาการอบรมแม้เพียงช่วงเวลาสั้นๆแค่ ๘ วัน เท่านั้น( ๘-๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓)แต่ก็เป็น ๘ วันที่ทรงคุณค่าและมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา ของอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ที่พร้อมจะสร้างสรรค์โลกใบนี้ให้เรืองรองด้วยแสงแห่งธรรม
คุณซูซาน เจฟรีฮอน อายุ ๖๔ ปี ชาวอเมริกันกล่าวว่า “ดีใจที่ได้มาเป็นหนึ่ง ในโครงการนี้ ประทับใจ
สบายใจ อยากให้ชาวโลกทราบว่า ผู้ชายบวชพระได้ ผู้หญิงก็บวชอุบาสิกาแก้วได้เหมือนกัน ลูกชายของฉัน พระโจชัวร์ชยินฺโท พรรษา๓ และพ่อของเขาก็ได้บวชเป็นพระสงฆ์แล้วคูณผกากุล พลอยพรรณ หรือน้องหน่อมี นักศึกษาจากศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวสตรี แกนนำบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ ได้ชวนเพื่อนๆมาสมัครเป็นพี่เลี้ยงหน่ออ่อนครั้งนี้ ได้กล่าวถึงความประทับใจว่า “หนูและเพื่อนๆปลื้มใจมากถึงการทำหน้าที่พี่เลี้ยงครั้งนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะทุกคนที่มาน่ารักกันมาก เหมือนเป็นญาติผู้ใหญ่ เป็นคุณย่าคุณยาย แต่แววตาสดใสตลอด ตั้งใจเรียนรู้ทุกๆกิจกรรมอย่างการขัดวิมาน(ห้องน้ำ) หลายคนบอกประทับใจมากไม่เคยทำมาก่อน ถ้าไม่ได้มาบวชคงไม่คิดที่จะทำเลย แต่ละวันหนูกับเพื่อนๆ จะมีเรื่องราวของน้องเลี้ยงต่างวัย ให้เบิกบานได้ไม่ซ้ำเรื่องกันเลยพอถึงช่วงปฏิบัติธรรม ทุกๆคนตั้งใจกันมาก และนั่ง
สมาธิได้ดีมากด้วยค่ะบางคนนั่งแล้วมีความสุขเห็นแสงสว่างเห็นองค์พระ พี่เลี้ยงอย่างพวกหนูก็เลยปลื้มกันมาก จากวัน

 แรกจนถึงวันนี้พวกหนูปลื้มในบุญจากการทำหน้าที่พี่เลี้ยง รวมทั้ง บุญจากการชวนคนบวช บุญจากการเตรียมสถานที่
พวกหนูปลื้มสุดๆ ไม่คิดว่าเด็กอย่างเราจะทำได้ เพราะมันดูยิ่งใหญ่มาก พวกหนูกราบขอบพระคุณคุณครูไม่ใหญ่เป็นอย่าง
สูง ที่มีโครงการดีๆที่เป็นแสงสว่างไปถึงยอดดอยค่ะ”
อุบาสิกาแก้ว อิงอร นาลี อายุ๔๓ ปี จากศูนย์อบรม วัดบางแก้ว
อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์กล่าวว่ามาวัดนี้ตั้งแต่เด็กๆ เมื่อก่อนวัดบางแก้วมีพระอยู่เกือบ ๕๐ รูป ชาวพุทธนิยมส่งลูกมาบวช แล้วก็จะเวียนกันทำอาหารมาเลี้ยงพระ แต่ตอนนี้เหลือพระน้อยเลยไม่ค่อยมีบรรยากาศเหมือนเมื่อก่อนพอมีโครงการบวชอุบาสิกาแก้วชาวบ้านตื่นตัวกันมาก มาช่วยกันทำความสะอาดทำวัตรเย็นและฟังธรรมะทำให้บรรยากาศ
ที่นี้คึกคักขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งตอนนี้จะมีโครงการบวชอุบาสิกาแก้ว ๕๐๐,๐๐๐คน ก็ดีใจมาก จะทำหน้าที่ชวนญาติพี่
น้องมาบวชและก็จะมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงด้วย




         เมื่อสุภาพสตรีทั่วแผ่นดิน พร้อมเพรียงกันเข้าร่วมโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๑๐๐,๐๐๐ คน ที่จัดขึ้นไปแล้วระหว่างวันที่ ๘- ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมาเกิดกระแสวัฒนธรรมชาวพุทธอันงดงาม ทำให้เกิดโครงการต่อเนื่อง โดยคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม วัดพระธรรมกายมูลนิธิธรรมกายสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์และกว่า ๒๔ องค์กรภาคีต่างๆ จัดให้มี โรงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๕๐๐,๐๐๐ คน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงแท้ๆ อายุระหว่าง ๑๕-๖๕ ปี ได้อบรมปลูกฝังศีลธรรม และอุดมการณ์พระพุทธศาสนา ให้สตรีชาวพุทธกลายเป็นอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัยอันหมายถึง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธ พัฒนาศีลธรรมของโลกให้รุ่งเรืองสืบไป มาปฏิบัติธรรมเติมบุญให้แก่ตนเองและแผ่นดินขึ้นอีกวาระหนึ่ง 













โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน
                ๕๐๐,๐๐๐ คน



จัดให้มีการอบรมขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖-๒๙ เมษายนพ.ศ.๒๕๕๓ รวมเวลา ๑๔ วัน ณ วัดต่าง ๆ และโรงเรียนประจำอำเภอ หรือ ศูนย์อบรมตามอำเภอต่างๆทั่วประเทศรวมทั้งศูนย์สาขาทั่วโลก
บวชฟรี....เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center โทร ๐๒-๘๓๑-๑๒๓๔, ๐๘๗-๗๐๗-๗๗๗๑ ถึง ๓ หรือ www.dmycenter.comสมัครด้วยตนเอง ณ ศูนย์อบรมทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทั่วโลก

“มาร่วมกันทำความดี...แก้ปัญหาวิกฤตชาติ
ด้วยพลังของ “สตรี” ทั้งแผ่นดิน”








ท้ายเล่ม

ประเพณีการบวชนับเป็นประเพณีที่สำคัญของชนชาติไทย เพราะเป็นประเพณีที่ทำให้มีศาสนทายาทสืบทอดรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดมานับพันปีแต่ทว่าในระยะหลังๆ นี้ปรากฏว่าประเพณีดังกลา่วกำลงัจะหา่งหายไปจากวถิ ชี วี ติของคนไทยเราไปทกุ ทีนั่นคือมีการบวชน้อยลงและที่มาบวชก็มักจะบวชกันเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น อันเป็นเหตุให้เกิดปัญหาวัดร้างเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วงจากความสำเร็จของสองโครงการครั้งประวัติศาสตร์ คือโครงการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ตำบล และโครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ที่ได้รับการตอบรับล้นหลาม ทำให้คณะสงฆ์ สาธุชนและองค์กรภาคีที่ร่วมโครงการต่างพึงพอใจและเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด และถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องช่วยกันฟื้นฟูประเพณีการบวชเข้าพรรษาให้กลับมาเฟื่องฟูดังเช่นบรรพกาล แล้ววัดร้างก็จะกลายเป็นวัดรุ่งจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา ๑๐๐,๐๐๐ รูปทั่วไทย” ที่จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่๙ กรกฎาคม - ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอประมาณ ๘๐๐ แห่ง ครั้งนี้คงจะได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากพวกเราเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายเป็นอย่างดี ขอให้ถือว่าการส่งเสริมการบวชเพื่อช่วยสืบทอดรักษาพระพุทธศาสนานี้เป็นภาระรับผิดชอบ
ของพวกเราทุกคนพุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
                  คณะผู้จัดทำ




แจ้งบอกรับ
จดหมายข่าวและเสนอข้อคิดเห็นได้ที่
อาศรมบัณฑิต
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
โทรศัพท์และโทรสาร ๐-๒๙๐๑-๑๙๒๗
จดหมายข่าวสหธรรมิก : สื่อสารเพื่อการคณะสงฆ์
จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการโดย : วัดพระธรรมกาย